แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_travel

 

เมือง ไทยวันนี้แม้จะผ่านพ้นวิกฤติมาได้เปลาะหนึ่ง แต่สถานการณ์ข้างหน้ายังน่าเป็นห่วงกับความปั่นป่วนวุ่นวายรอบใหม่ที่จะเกิด ขึ้น แต่กระนั้น"ตะลอนเที่ยว" ยัง(แอบ)หวังอยู่ลึกๆว่าด้วยลักษณะนิสัยอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนไทย อีกไม่นานเมืองไทยจะกลับมาน่าอยู่เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตามในสภาวะที่ความตึงเครียดยังคุกรุ่นอยู่ในสังคม การออกไปท่องเที่ยวเข้าวัด ไหว้พระ สามารถลดทอนความเครียดได้ไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นสิ่งช่วยเสริมสร้างพลังในการดำเนินชีวิตให้มีกำลังใจในการ ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ

นั่นจึงทำให้ทริปนี้ "ตะลอนเที่ยว" จึงขอพาแฟนานุแฟนไปออกทัวร์ไหว้พระเสริมมงคล ควบคู่ไปกับการเที่ยวชมสิ่งที่น่าสนใจในจังหวัดนครราชสีมา กับโครงการ "เที่ยวทั่วไทย สุขใจเสริมมงคล" ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ที่มี อ. คฑา ชินบัญชร พรีเซ็นเตอร์โครงการมาเป็นมัคคุเทศก์ให้ความรู้คู่ไปกับหลักธรรมคำสอน

สำหรับการตะลอนเที่ยวโคราชในทริปนี้ เราเริ่มต้นที่ "วัดธรรมจักรเสมาราม" ต.เสมา อ.สูงเนิน วัดแห่งนี้เคยเป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี สังเกตได้จากวัตถุโบราณที่ค้นพบภายในวัด อาทิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอนหินทราย) ซึ่งมีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี อายุราว พ.ศ. 1200 สร้างด้วยหินทรายแดงนำมาวางซ้อนกัน แล้วแกะสลักเป็นศิลปะแบบพื้นบ้าน ถือเป็นพระนอนหินทรายที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวสวน
บริเวณโดยรอบองค์พระนอนจะมีกองอิฐก่อเป็นชั้นๆ สันนิษฐานว่า เป็นวิหารที่สร้างครอบองค์พระนอนไว้ แต่ยังไม่แล้วเสร็จดี ส่วนรอบๆ วิหารจะพบใบเสมาอยู่ทั้ง 8 ทิศ มีทั้งหมด 2 ชั้น และยังพบแท่นที่วางเครื่องสักการะองค์พระอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมี ธรรมจักรศิลา ที่สร้างด้วยหินทราย มีหน้ากาลทั้ง 2 ด้าน เส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ 141 ซม. ขุดค้นพบได้ในบริเวณพระพักตร์ของพระนอนหินทราย

ภายในบริเวณวัดธรรมจักรเสมาราม มีความร่มรื่น เย็นสบายจากต้นไม้น้อยใหญ่ภายในวัด ผู้คนที่เข้ามาในวัด ส่วนใหญ่จะมากราบขอพรพระนอนหินทราย ซึ่งเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเป็นพระประจำวันของคนเกิดวันอังคาร จึงมีผู้แวะเวียนมากราบไหว้กันไม่ขาดสาย

เดินทางต่อมาอีกสักหน่อย ก็จะพบกับวิถีชีวิตของชาวสวนริมน้ำ ที่"บ้านเมืองเก่า" ต.โคราช อ.สูงเนิน มาถึงที่นี่แล้วก็พลาดไม่ได้ที่จะล่องเรือตามลำน้ำลำตะคอง เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน ชมสวนเกษตรตามฤดูกาล ซึ่งในปัจจุบันชาวสวนสองฝั่งลำน้ำ ก็ยังคงใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำสวนเกษตร ตัวอย่างเช่น การใช้ระหัดวิดน้ำแบบดั้งเดิม ที่ไม่ต้องพึ่งพากระแสไฟฟ้าในการสูบน้ำเข้าสวน แต่ก็สามารถที่จะมีน้ำใช้ได้ตลอด ระหว่างการล่องเรือ ก็สามารถที่จะแวะขึ้นไปชมสวน และขอความรู้ต่างๆ ได้ด้วย
อนุสาวรีย์ย่าโม มีคนเดินทางมาสักการะกันไม่ได้ขาด
ชาวบ้านที่บ้านเมืองเก่า ล้วนแต่มีน้ำจิตน้ำใจไมตรีหยิบยื่นให้แก่นักท่องเที่ยวทุกคน ทำให้รู้สึกได้ถึงความอบอุ่น และความเป็นกันเอง ที่แทบจะหาไม่ได้ในเมืองใหญ่ และถ้าหากใครติดใจอยากจะสัมผัสวิถีชีวิตชาวสวนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ก็สามารถติดต่อโฮมสเตย์ของที่นี่ได้

หลังจากเที่ยวที่ อ.สูงเนินมาแล้ว คราวนี้ก็เข้ามาสู่ตัวเมืองกันบ้าง มาถึงโคราชทั้งที ก็ต้องแวะมาสักการะย่าโมกันเสียก่อน "อนุสาวรีย์ย่าโม" หรือ "อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าประตูชุมพล (ประตูเมืองด้านทิศตะวันตก) ตัวอนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทานในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น ซื้อซ้ายท้าวเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน
ภายในถ้ำหินงอกหินย้อย วัดพายัพ
นักท่องเที่ยวต่างถิ่น และชาวเมืองโคราชมักจะแวะมากราบสักการะย่าโมอยู่เสมอ และจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้นในช่วงปลายเดือน มีนาคมของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้ต่อสู้กับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯ ได้เป็นผลสำเร็จ

หลังจากสักการะย่าโมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็แวะเวียนมาที่ "วัดพายัพ" ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากอนุสาวรีย์ย่าโมมากนัก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถหลังเก่านั้น ออกแบบเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยใช้พระที่นั่งสรรเพชรปราสาทเป็นต้นแบบ แต่ในปัจจุบันได้พังทลายไปหมดแล้ว จึงมีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจภายในวัดพายัพ คือ ถ้ำหินงอกหินย้อย เป็นถ้ำที่สร้างขึ้นด้วยเศษหินงอกหินย้อยที่ถูกทำลายจากการระเบิดภูเขาหินนำ มาประดับประดาตกแต่งภายในถ้ำจนมีความสวยงาม และเก็บรักษาไว้ให้คนทั่วไปได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ภายในถ้ำเป็นที่เก็บรวบรวมพระพุทธรูปโบราณแกะหินทราย หินศิลา และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จำนวนมาก

เดินทางมาอีกไม่ไกล ก็จะเข้าสู่ "วัดศาลาลอย" ซึ่งเป็นวัดที่ท้าวสุรนารีพร้อมกับสามีของท่านสร้างขึ้น ภายหลังรบชนะกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นภายในวัด ภายหลังที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว
พระอุโบสถ วัดศาลาลอย
จุดเด่นของวัดนี้ อยู่ที่พระอุโบสถหลังใหม่ ที่ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม และรางวัลจากมูลนิธิเสถียรโกเศศและนาคะประทีป เป็นอุโบสถที่สร้างแบบศิลปะไทยประยุกต์เป็นรูปสำเภาโต้คลื่น ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาวปางห้ามสมุทร พระนามว่า "พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์"

นอกจากนี้ก็ยังมีพระอุโบสถหลังเดิม ที่สร้างขึ้นพร้อมกับวัด เป็นอุโบสถมหาอุตม์ ที่ใช้ทำพิธีการสำคัญต่างๆ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่พระอุโบสถนั้นมีทางเข้าออกเพียงประตูเดียว และไม่มีหน้าต่างแม้เพียงสักบาน ปัจจุบันก็ยังประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเข้ามากราบไหว้ขอพร
ความร่มรื่นเปี่ยมความขลังในไทรงาม
จากนั้นก็เดินทางมาสู่เมืองประวัติศาสตร์อีกหนึ่งเมืองของโคราช นั่นคือ อ.พิมาย และมาเริ่มต้นกันด้วย "อาณาจักรต้นไทร" หรือ "ไทรงาม" ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย บรรยากาศภายในไทรงามร่มรื่นเป็นอย่างมาก จากการที่กิ่งก้านสาขาของต้นไทรนั้นปกคลุมไปทั่วบริเวณกว่า 15,000 ตารางฟุต ต้นไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่อายุประมาณ 350 ปี

ไทรงามเริ่มมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ครั้งที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิมาย และได้พระราชทานนามว่า "ไทรงาม" ปัจจุบันก็เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านใกล้เคียง และนักท่องเที่ยวทั่วไปที่เข้ามาชม
ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
และเมื่อมาถึงพิมายแล้ว ก็ต้องแวะเข้าไปชมปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอย่าง "ปราสาทหินพิมาย" ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมายคือ เป็นปราสาทที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นที่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งสันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองโศธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ที่เข้ามาสู่เมืองพิมายทางทิศใต้

ศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นศิลปะแบบปาปวน โดยมีศิลปะแบบนครวัดปะปนอยู่บ้าง ปราสาทหินแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างและปรับปรุงต่อเติม ทรงนับถือพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน

การเดินชมปราสาทหินพิมายนั้น จะมีบริการยุวมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพิมายวิทยานำชมสถานที่ เพื่อให้ผู้เข้าชมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปราสาทหินพิมายมากขึ้น สามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมายได้เลย
พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินส่วนจัดแสดงกลางแจ้ง
ยังมีอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจของเมืองโคราช นั่นคือ "พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน" และทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในตัวเมืองโคราช พิพิธภัณฑ์แห่งนี้รวบรวมพรรณไม้ดึกดำบรรพ์ สวนไม้กลายเป็นหิน ช้างดึกดำบรรพ์ และฟอสซิลสัตว์นานาชนิด เพื่อให้ได้เข้าไปเยี่ยมชม และศึกษาหาความรู้
หนึ่งในของฝากน่ารักๆ จากด่านเกวียน
ก่อนกลับออกจากเมืองโคราช ก็ซื้อของฝากขึ้นชื่อกันหน่อย แวะไปที่ "ด่านเกวียน" ชุมชนเครื่องปั้นดินเผา สามารถเข้าไปศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน วิธีการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์ของชาวด่านเกวียน และเลือกซื้อของฝากน่ารักๆ ติดไม้ติดมือไปฝากเพื่อนฝูง หรือจะซื้อเครื่องใช้ ของตกแต่งบ้านที่ทำจากดินเผาไปด้วยก็ไม่เลว
ตลาดน้ำกลางดง
แถมอีกสักหน่อย ก่อนที่จะเข้ากรุงเทพฯ เราแวะเข้าไปเที่ยว"ตลาดน้ำกลางดง" หรือ ตลาดน้ำศิลปะ อยู่ที่ ต.กลางดง อ.ปากช่อง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนรักศิลปะ ซึ่งมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างศิลปะและธรรมชาติ ภายในตลาดน้ำมีร้านค้า ร้านอาหารมากมายให้เลือกชม เลือกซื้อกันตามอัธยาศัย

เรียกได้ว่ามาโคราชคราวนี้ทั้งอิ่มบุญ อิ่มใจ แถมยังได้พลังไฟชีวิตกลับไปสู้กับสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ ได้อีกด้วย

 

ที่มา:http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000079563

 

Go to top