สร้างความสับสนให้กับบรรดาร้านเหล้าเบียร์ ผับบาร์รวมถึงร้านอาหาร สวนอาหารที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขายไม่น้อย สำหรับการลงโฆษณาประกาศเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ ด้วยข้อความว่า "สรุปสาระสำคัญคำพิพากษาประวัติศาสตร์" พร้อมรายละเอียดของคดีหมายเลขแดงที่ 241/2555 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 2-4/2555 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
ที่ โดดเด่นเป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นล้อมกรอบข้อความด้วยตัวหนังสือสีแดงว่า "D-Day จับโฆษณา ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 พร้อมกันทั่วประเทศ 14 กุมภาพันธ์ 2556"
นี่คือ การเปิดเกมรุกครั้งล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้รับผิดชอบ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
จากการสอบถามไปยัง สนง.คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงการลงโฆษณาดังกล่าว ซึ่งได้รับคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร ผับบาร์ โทรศัพท์เข้ามาสอบถามเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก และยืนยันตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป จะส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจร้านค้า สถานบันเทิงกลางคืน ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และจะดำเนินคดีกับผู้ที่ทำผิดกฎหมายทันที เพราะได้มีการลงโฆษณาประกาศเตือนให้ทราบแล้ว
เป็นที่รับรู้กันทั่วไป ว่า ที่ผ่านมา สนง. คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้เปิดเกมรุกและมีชัยมาแล้วหลายคราว ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงโลโก้เหล้าเบียร์เพื่อประกอบการ โฆษณา-ประชาสัมพันธ์ การแสดงข้อความคำเตือน การกำหนดวันห้ามขายในวันสำคัญทางศาสนา การห้ามดื่มบนทางในขณะอยู่บนรถ การห้ามดื่มห้ามขายในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ฯลฯ
อะไรคือ "คำพิพากษาประวัติศาสตร์" ที่ว่าย้อนกลับไป พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่เปิดให้บริการเป็นแพริมน้ำที่ตลาดถนนคนเดินราชบุรี โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2552 เวลาประมาณ 18.00 น. จำเลยโฆษณาเบียร์ไฮเนเก้น, ช้าง, เฟดเดอร์บรอย, เชียร์, ไทเกอร์ และสปาย ไวน์คูลเลอร์ ที่มีการติดป้ายไฟ ป้ายไวนิล ธงญี่ปุ่น บนผ้าปูโต๊ะ ตู้เครื่องดื่ม และเต็นท์บริการ
และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำ พิพากษาของศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโฆษณา (การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด) ตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้า
แต่จำเลยรับสารภาพและทางนำสืบที่เป็นประโยชน์ ศาลจึงลดโทษและปรับเป็นเงิน 3,200 บาท
คำ พิพากษาของคดีนี้กำลังจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ที่ สนง. คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะใช้เป็นอาวุธในการป้องกันเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมิให้เข้าถึงเหล้าเบียร์โดยง่าย
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้คำพิพากษานี้เป็นเครื่องมือในการสู้กับบริษัทเหล้าเบียร์ทางอ้อม
ขณะ ที่ "ธนากร คุปตจิตต์" ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายสุรารายใหญ่ กล่าวถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาว่า จากความไม่ชัดเจนของกฎหมาย และกรณีนี้ก็เป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และยังไม่มีคดีใดที่มีการต่อสู้ไปถึงศาลฎีกา เชื่อว่าขณะนี้ร้านค้าต่าง ๆ คงจะเกิดความสับสน เพราะไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร
พร้อมกันนี้ เขายังระบุถึงมาตรา 32 เรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกฎหมายฉบับนี้ว่า จนถึงวันนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องการตีความมาโดยตลอด และมีการตีความหลายแง่มุม ทั้งมุมของผู้ประกอบการ มุมของ สสส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานผู้กำกับดูแลตาม พ.ร.บ. รวมถึงสำนักงานกฤษฎีกา
"เพื่อหาข้อยุติที่เป็นที่ยอมรับของ ทุกฝ่าย ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้เสนอให้หาคนกลางที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายมาตี ความในเรื่องนี้ แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้รับการตอบรับ และเชื่อว่าจากนี้ไปจะยิ่งมีปัญหามากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลและเกรงว่าอาจจะมีปัญหาตามมา คือ การนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลมาใช้กับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย โดยจะจ่าย "เงินสินบน" ให้กับผู้แจ้งความนำจับ และจ่าย "เงินรางวัล" ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้จับด้วย หลายฝ่ายยังกังขาและตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการจูงใจนี้อาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย
ด้าน "วิทวัส ชัยปาณี" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟจูซจีวัน ที่คร่ำหวอดในวงการโฆษณามานาน แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า การเข้มงวดดังกล่าวจะมีผลโดยตรงกับบริษัทผู้ประกอบการเหล้าเบียร์ ในแง่ของการจะมีโอกาสในการกระตุ้น ณ จุดขาย แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าไม่น่าจะมีผลมากนัก เนื่องจากคนที่ตั้งใจจะไปดื่ม เขาก็ต้องไปดื่ม และเขาก็จะมียี่ห้อหรือแบรนด์
"หากสังเกตจะเห็นว่า ที่ผ่านมาแม้ว่าบริษัทเหล้าเบียร์จะไม่ได้ใช้งบฯโฆษณาแล้ว แต่ตลาดก็ยังเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง"
เป็น ธรรมดา เมื่อการห้ามโฆษณามีผลทำให้ยอดขายเหล้าเบียร์ลดลง สนง. คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงต้องหันมาเดินเกม "บีบ" ทางอ้อม หรือค่อย ๆ นวด ให้อ่อนแรงลงทีละน้อย ๆ
ใครจะถูกเชือดรายต่อไป ครั้งหน้าอาจเป็นคิวของสาวเชียร์เบียร์สาวเชียร์เหล้าก็ได้...ใครจะไปรู้ ! กับผู้ที่ทำผิดกฎหมายทันที เพราะได้มีการลงโฆษณาประกาศเตือนให้ทราบแล้ว
เป็น ที่รับรู้กันทั่วไปว่า ที่ผ่านมา สนง. คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้เปิดเกมรุกและมีชัยมาแล้วหลายคราว ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงโลโก้เหล้าเบียร์เพื่อประกอบการ โฆษณา-ประชาสัมพันธ์ การแสดงข้อความคำเตือน การกำหนดวันห้ามขายในวันสำคัญทางศาสนา การห้ามดื่มบนทางในขณะอยู่บนรถ การห้ามดื่มห้ามขายในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ ฯลฯ
อะไรคือ "คำพิพากษาประวัติศาสตร์" ที่ว่าย้อนกลับไป พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่เปิดให้บริการเป็นแพริมน้ำที่ตลาดถนนคนเดินราชบุรี โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2552 เวลาประมาณ 18.00 น. จำเลยโฆษณาเบียร์ไฮเนเก้น, ช้าง, เฟดเดอร์บรอย, เชียร์, ไทเกอร์ และสปาย ไวน์คูลเลอร์ ที่มีการติดป้ายไฟ ป้ายไวนิล ธงญี่ปุ่น บนผ้าปูโต๊ะ ตู้เครื่องดื่ม และเต็นท์บริการ
และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำ พิพากษาของศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโฆษณา (การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด) ตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้า
แต่จำเลยรับสารภาพและทางนำสืบที่เป็นประโยชน์ ศาลจึงลดโทษและปรับเป็นเงิน 3,200 บาท
คำ พิพากษาของคดีนี้กำลังจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ที่ สนง. คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะใช้เป็นอาวุธในการป้องกันเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมิให้เข้าถึงเหล้าเบียร์โดยง่าย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้คำพิพากษานี้เป็นเครื่องมือในการสู้กับบริษัทเหล้าเบียร์ทางอ้อม
ขณะ ที่ "ธนากร คุปตจิตต์" ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายสุรารายใหญ่ กล่าวถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาว่า จากความไม่ชัดเจนของกฎหมาย และกรณีนี้ก็เป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และยังไม่มีคดีใดที่มีการต่อสู้ไปถึงศาลฎีกา เชื่อว่าขณะนี้ร้านค้าต่าง ๆ คงจะเกิดความสับสน เพราะไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร
พร้อมกันนี้ เขายังระบุถึงมาตรา 32 เรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกฎหมายฉบับนี้ว่า จนถึงวันนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องการตีความมาโดยตลอด และมีการตีความหลายแง่มุม ทั้งมุมของผู้ประกอบการ มุมของ สสส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานผู้กำกับดูแลตาม พ.ร.บ. รวมถึงสำนักงานกฤษฎีกา
"เพื่อหาข้อยุติที่เป็นที่ยอมรับของ ทุกฝ่าย ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้เสนอให้หาคนกลางที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายมาตี ความในเรื่องนี้ แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้รับการตอบรับ และเชื่อว่าจากนี้ไปจะยิ่งมีปัญหามากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลและเกรงว่าอาจจะมีปัญหาตามมา คือ การนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลมาใช้กับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย โดยจะจ่าย "เงินสินบน" ให้กับผู้แจ้งความนำจับ และจ่าย "เงินรางวัล" ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้จับด้วย
หลายฝ่ายยังกังขาและตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการจูงใจนี้อาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย
ด้าน "วิทวัส ชัยปาณี" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟจูซจีวัน ที่คร่ำหวอดในวงการโฆษณามานาน แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า การเข้มงวดดังกล่าวจะมีผลโดยตรงกับบริษัทผู้ประกอบการเหล้าเบียร์ ในแง่ของการจะมีโอกาสในการกระตุ้น ณ จุดขาย แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าไม่น่าจะมีผลมากนัก เนื่องจากคนที่ตั้งใจจะไปดื่ม เขาก็ต้องไปดื่ม และเขาก็จะมียี่ห้อหรือแบรนด์
"หากสังเกตจะเห็นว่า ที่ผ่านมาแม้ว่าบริษัทเหล้าเบียร์จะไม่ได้ใช้งบฯโฆษณาแล้ว แต่ตลาดก็ยังเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง"
เป็น ธรรมดา เมื่อการห้ามโฆษณามีผลทำให้ยอดขายเหล้าเบียร์ลดลง สนง. คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงต้องหันมาเดินเกม "บีบ" ทางอ้อม หรือค่อย ๆ นวด ให้อ่อนแรงลงทีละน้อย ๆ
ใครจะถูกเชือดรายต่อไป ครั้งหน้าอาจเป็นคิวของสาวเชียร์เบียร์สาวเชียร์เหล้าก็ได้...ใครจะไปรู้ !
ที่มา:http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359603022&grpid=10&catid=11&subcatid=1100