แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

estate

   ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด เปิดเผยว่า  ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยของบริษัทฯ ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินและที่อยู่อาศัย ระหว่างพ.ศ.2528-2555 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ผลการศึกษาในปี 2554 พบว่า แปลงที่ดินที่มีราคาตลาดสูงสุดคือบริเวณสยามพารากอน บริเวณสยามสแควร์ บริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้า ชิดลม และบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ตามแนวดังกล่าวนี้ ราคาที่ดินที่ประเมินได้เป็นเงิน 1.4 ล้านบาทต่อตารางวาหรือ ไร่ละ 560 ล้านบาท  คาดว่าในปี 2555 ราคาที่ดินบริเวณนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านบาทต่อตารางวา

 

 

  หากเทียบกับปี 2553 ราคาที่ดินบริเวณนี้ได้รับการประเมินไว้เป็นเงิน 1.2 ล้านบาทต่อตารางวา นับว่าเพิ่มขึ้นถึง 17% ภายในเวลา 1 ปี ซึ่งถือว่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นับเท่าตัว สาเหตุที่ราคาที่ดินแพงในย่านใจกลางเมืองและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ก็เพราะการมีรถไฟฟ้าใจกลางเมือง โดยเฉพาะบริเวณสยามสแควร์ เป็นจุดเชื่อมรถไฟฟ้าสองสาย จึงทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างต่อเนื่อง

 

ที่ดินที่มีราคาสูงรอง ๆ ลงมาได้แก่ ที่ดินติดถนนวิทยุ ถนนสีลม และติดถนนราชดำริ ตรงบริเวณสถานีรถไฟฟ้า มีราคาเป็นเงินตารางวาละ 1.1 ล้านบาท ส่วนที่ดินติดถนนติดถนนสุขุมวิทช่วงต้น เช่น บริเวณอาคารไทม์สแควร์ และตลอดแนวถนนสาทร มีราคาตารางวาละ 1 ล้านบาท

 

สำหรับราคาที่ดินที่ถูกที่สุด ได้แก่ บริเวณถนนเลียบคลอง 13 ตรงบริเวณ กม.5 ที่ดินขนาด 4 ไร่ มีราคาตารางวาละเพียง 2,600 บาท หรือ ไร่ละ 1.04 ล้านบาท ส่วนที่ดินขนาด 4 ไร่ที่อยู่ถนนบางไทรตรงข้ามศูนย์ศิลปาชีพ ราคาประมาณ 4,600 บาทต่อตารางวา หรือไร่ละ 1.84 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะมีข้อจำกัดในการก่อสร้างเพราะตั้งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์ศิลปาชีพ

 

จะสังเกตได้ว่า ที่ดินชานเมืองที่ไม่ค่อยมีสาธารณูปโภค เช่น แถวเลียบคลอง 13 แถวลำต้อยติ่ง แถวรังสิต-วังน้อย และแถวประชาสำราญ ราคากลับทรงหรือแทบไม่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ที่ดินในใจกลางเมือง ราคากลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณใกล้แนวรถไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 15 ปีก็คือแถวสยามสแควร์ที่แต่เดิมมีราคา 0.43 ล้านบาทต่อตารางวาในปี 2539 และเพิ่มเป็น 1.4 ล้านบาทต่อตารางวาในปี 2554 ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าสีลม ซึ่งแต่เดิมมีราคาแพงที่สุด ทั้งนี้ เพราะสีลมเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ซึ่งมักใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานมากกว่า ส่วนย่านสยาม ชิดลมและเพลิน จิตมักใช้ที่ดินก่อสร้างศูนย์การค้า ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

 

โดยจะสังเกตได้ว่า ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2528-2534 และชะลอตัวในช่วง พศ.2535-2539 หลังจากนั้นราคาที่ดินก็ตกต่ำลงในช่วงปี 2540-2542 และกลับฟื้นตัวอีกในช่วงปี 2543-2548 จากนั้นก็ชะลอตัวลง จนมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2553 ต่อเนื่องถึงปี 2555

 

ดร.โสภณ กล่าวต่อไปว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยคงไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการถดถอยของประเทศใน ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้กำลังค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่วนหนึ่งเพราะมีประเทศรัสเซียที่มีเศรษฐกิจที่ดีต่อเนื่องเข้ามาทดแทน นอกจากนี้จากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็ยิ่งจะทำให้ภูมิภาคนี้ แข็งแกร่ง และทำให้ประเทศไทย มีแรงดึงดูดให้ต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย มากกว่าที่ไทยจะไปลงทุนในประเทศอาเซียน

 

เศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยยังจะขยายตัวต่อไปในอนาคตในอีก 5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาวะพังทลายของตลาดอสังหาริมทรัพย์ นั่นก็คือ การเกิดฟองสบู่ของการเปิดตัวโครงการจนมากมายเกินความต้องการ แต่กรณีนี้ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพียงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ สถาบันการเงินประเมินค่าทรัพย์สินเองโดยไม่ต้องใช้ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน อิสระ และการที่สถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อในราคาประเมินที่อาจจะสูงเกินจริงจนจะ ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้

estate

ปี 2554 ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ในปี 2553 ราคาที่ดินกลับเพิ่มสูงถึง 4.4% ทั้งนี้สาเหตุที่ราคาเพิ่มขึ้นมากในปีก่อนก็เพราะการส่งออกดี ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดี จึงมีผู้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มาก ราคาที่ดินก็สูงขึ้น แม้จะมีวิกฤติทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 หรือแม้แต่ดอกเบี้ยและภาษีอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นในปี 2553 ก็ตาม อย่างไรก็ตามราคาที่ดินเคยตกต่ำลงอย่างชัดเจนในปี 2540-2541 ถึง 12.6% และ 10.8% ตามลำดับ แต่หลังจากนั้นราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นจนสูงสุดต่อปีในปี 2548  และนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ราคาที่ดินก็ยังเพิ่ม แต่ ณ อัตราที่ลดลงตามลำดับ มาดีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี 2553

 

ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า ราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น บริเวณแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส (รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา) แถวสยามสแควร์ ชิดลมและเพลินจิต ราคาเพิ่มขึ้น 16.7% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนตลอดสายของบีทีเอส ราคาเพิ่มขึ้น 128% ในรอบปี 2548-2554 หรือเฉลี่ยทั้งสายปีละ 21.3% โดยเฉพาะปี 2553-2554 ราคาเพิ่มขึ้นทั้งสายประมาณ 11.7% ส่วนต่อขยายก็เพิ่มขึ้น เช่น แบริ่ง เพิ่มถึง 14.8% บางหว้าเพิ่ม 12.6% ในรอบปีที่ผ่านมาเช่นกัน สำหรับที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ราคาก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 14.4%

 

ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ยังได้จัดทำบทวิเคราะห์ความผันผวนของราคาที่ดินใจกลางเมือง เพื่อชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของทำเลราคาที่ดินที่แพงที่สุดในประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ได้แก่ บริเวณเยาวราช สีลม และสยามสแควร์ โดยในปี 2537 ที่ดินที่มีราคาแพงที่สุดในประเทศไทย ที่สมมติให้มีขนาด 4 ไร่ (หน้ากว้าง 40 เมตร ลึก 160 เมตร) คือที่บริเวณเยาวราช เป็นเงินตารางวาละ 700,000 บาท ที่ดินบริเวณสีลมที่มีราคา 450,000 บาทในปี 2537 มีราคาขยับสูงเท่ากับบริเวณเยาวราชในปี 2551 และราคากลับแซงหน้าในปีต่อ ๆ มา ส่วนบริเวณสยามสแควร์ ราคาแซงบริเวณเยาวราชตั้งแต่ปี 2549  และ ณ ในปี 2554 มีราคาสูงที่สุดเป็นเงินถึง 1,400,000 บาทต่อตารางวา

 

 

การที่ราคาที่ดินบริเวณเยาวราชมีราคาสูงสุดที่สุดในปี 2537 ณ ราคา 700,000 บาทต่อตารางวานั้น เป็นเพราะว่า ทำเลดังกล่าวเป็นแหล่งการค้าสำคัญ อาคารพาณิชย์หรือตึกแถวสำหรับทำการค้ามีราคาสูงถึงคูหาละ 40-50 ล้านบาท อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาบริเวณดังกล่าวมีลักษณะถดถอยลงตามลำดับ ที่ดินที่มีมักเป็นแปลงเล็ก ๆ ไม่มีพื้นที่กว้างขวางสำหรับการพัฒนาอาคารขนาดใหญ่สมัยใหม่  ไม่มีระบบสาธารณูปโภค ยกเว้นในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งมีโอกาสที่ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

 

 

สำหรับบริเวณสีลม กลับมีการเติบโตที่เป็นศูนย์ธุรกิจการเงิน ราคาที่ดินจึงสูงขึ้นตามลำดับ ราคาในปี 2537 แม้จะประเมินตามราคาตลาดไว้ที่ 450,000 บาทต่อตารางวา ซึ่งต่ำกว่าบริเวณเยาวราชเกือบเท่าตัว แต่ก็ขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วกว่า และแซงหน้าเยาวราชในปี 2552 และปัจจุบันอยู่ ณ ราคา 1,110,000 ล้านบาท ส่วนที่บริเวณสยามสแควร์ มีราคาเพียง 400,000 บาท ในปี 2537 แต่เพิ่มเป็น 1.4 ล้านบาทในปี 2554 ทั้งนี้เป็นเพราะศักยภาพในการพัฒนาที่ดินเป็นศูนย์การค้า เช่น สยามพารากอน และอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานเช่นบริเวณสีลม

 

 

ในเชิงเปรียบเทียบของทั้ง 3 บริเวณ จะพบว่าในระหว่างปี 2537-2554 ซึ่งเป็นเวลา 17 ปีนั้น บริเวณเยาวราช ราคาเพิ่มขึ้นเพียง 1.15% ต่อปี ส่วนที่สีลม ราคาเพิ่มขึ้นปีละ 5.4% และที่สยาม สแควร์ ราคาเพิ่มขึ้นถึง 7.65% อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2540-2542 มีที่เศรษฐกิจประเทศไทยประสบปัญหา ทำให้ราคาที่ดินตกต่ำลง โดยที่ดินในบริเวณเยาวราช สีลมและสยามสแควร์ มีราคา 700,000, 450,000 และ 400,000 บาทต่อตารางวา ได้ลดลงเป็น 500, 000, 420,000 และ 380,000 บาทต่อตารางวาในปี 2542 หรือลดลงไปถึง 28.57%, 6.7% และ 5% ตามลำดับ

 

 

หลังจากนั้นราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นตามลำดับเป็น 4.52% 8.35% และ 11.48% ต่อปี ในบริเวณเยาวราช สีลม และสยามสแควร์ในช่วงปี 2542-2554 และเชื่อว่าจะไม่มีบริเวณใดในกรุงเทพมหานครที่จะมีราคาสูงทดแทนบริเวณสยาม สแควร์ ชิดลมและเพลินจิตในปัจจุบันได้อีกต่อไป เพราะบริเวณนี้เป็นศูนย์ธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

 

การเปลี่ยนแปลงราคาบ้านหลังเดิม กรณีศึกษานี้เป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ใน

เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยแยกที่อยู่อาศัยออกเป็นกลุ่ม ๆ และสำรวจทุกรอบครึ่งปีในโครงการเดิมตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ.2534 จนถึงเดือนมิถุนายน 2555 ผลการศึกษาถือเป็นกรณีศึกษาของการเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัยต่างประเภท

 

estate

นอกจากนี้ ทางศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยของบริษัทได้ศึกษาถึง การเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัยต่างประเภท กรณีหลังเดิม พบว่า ราคาที่อยู่อาศัยทุกกลุ่มมีลักษณะขึ้น ๆ ลง ๆ ตามภาวะเศรษฐกิจ แต่มีที่อยู่อาศัยอยู่กลุ่มเดียว คือ กลุ่มห้องชุดราคาถูก ที่มีราคาไม่เกิน 0.6 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2554 โดยกลุ่มนี้ ราคาแทบไม่เพิ่มขึ้นอีกเลยหลังผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540  สาเหตุสำคัญก็คือการเสื่อมถอยทางกายภาพของทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการขาดการดูแลเท่าที่ควรนั่นเอง  ทรัพย์สินที่มีราคาถูก คุณภาพต่ำ มักจะด้อยค่าลงอย่างรวดเร็ว

 

 

การเปลี่ยนแปลงราคาขายในโครงการจัดสรร จากการศึกษาโครงการที่อยู่อาศัยที่กำลังขายอยู่จำนวน 1,300 โครงการครอบคลุมมูลค่าโครงการนับล้านล้านบาทของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมิน ค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่า มีที่อยู่อาศัยบางกลุ่มขายดี ราคาเพิ่มขึ้น และที่อยู่อาศัยบางกลุ่มขายไม่ดี ราคาลดลง จึงขอแถลงไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการในการเลือกพัฒนา เพื่อประโยชน์ของนักลงทุนและผู้ซื้อบ้านในการเลือกซื้ออย่างชาญฉลาด

 

 

กลุ่มที่อยู่อาศัยที่มีราคาเพิ่มขึ้นในรอบ 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2555) ที่ผ่านมาได้แก่ 1. ทาวน์เฮาส์ ราคาประมาณ 2.49 ล้านบาท ในย่านถนนศรีนครินทร์-เทพารักษ์ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ราคาขายเพิ่มเป็น 2.85 ล้านบาท หรือ 14.5% ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มที่เพิ่มสูงสุด นับว่ามีความต้องการหรืออุปสงค์อยู่สูงมาก

 

 

2. บ้านแฝด ราคา 2.272 ล้านบาท ย่านเอกชัย-บางบอน ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 2.548 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 12.1%

 

3. ทาวน์เฮาส์ ราคา 1.69 ล้านบาท ย่านเจ้าคุณทหาร ปัจจุบันเพิ่มราคาเป็น 1.89 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11.8%


4. บ้านเดี่ยวราคา 3.3 ล้านบาท ย่านฉลองกรุง ปัจจุบันปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็น 3.69 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11.8% เช่นกัน

 

5. ห้องชุดราคา 0.7 ล้านบาท ย่านถนนเทพลีลา-มหาดไทย บัดนี้ปรับเพิ่มราคาเป็น 0.77 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.0% แล้ว

จะสังเกตได้ว่า ประเภทบ้าน ณ ระดับราคา และ ณ ทำเลที่ตั้งทั้ง 5 กลุ่มข้างต้น มีศักยภาพดี ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลตามสภาพ เช่น ห้องชุดก็อยู่แถวมหาดไทย ทาวน์เฮาส์ ก็อยู่แถวเทพารักษ์ และบ้านเดี่ยวก็อยู่แถวฉลองกรุง เป็นต้น กลุ่มที่อยู่อาศัยที่ตั้งราคาได้สมเหตุสมผลและทำเลดีเหล่านี้จึงมีราคาเพิ่ม ขึ้น

 

ในทางตรงกันข้าม ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยของบริษัทพบว่า กลุ่มที่อยู่อาศัยที่ราคาตกต่ำลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ 1. บ้านเดี่ยวราคา 2.19 ล้านบาท ในย่านคลองหลวง-บางขัน ปรับตัวลดลงมาเหลือ 1.875 ล้านบาท หรือลดลง 14.4% แล้ว แสดงถึงความต้องการที่ถดถอยลงนั่นเอง

2. ตึกแถวราคา 4.0 ล้านบาท แถวนิมิตใหม่ ปรากฏว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาราคาลดลงเหลือ 3.5 ล้านบาทหรือลดลง12.5%

 

3. บ้านเดี่ยวราคา 3.4 ล้านบาท ย่านสามโคก-เสนา ราคากลับลดลงเหลือเพียง 3.006 ล้านบาท หรือลดลงเท่ากับ 11.6%


4. บ้านเดี่ยวราคา 12.583 ล้านบาทในย่านนวมินทร์ ราคาปรับลงลงเหลือ 11.387 ล้านบาทในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หรือลดลง

9.5% ซึ่งคงเป็นเพราะราคาแพงเกินไปสำหรับย่านนี้

 

5. ห้องชุดราคา 0.812 ล้านบาท แถวอ้อมน้อย ราคาลดเหลือ 0.748 ล้านบาท หรือลดลง 7.8% ซึ่งคงเป็นเพราะแถวนั้นมีอุปทานเก่าราคาถูกเหลืออยู่มาก

estate

  สินค้าที่ขายดี ราคาเพิ่มและมีความต้องการนี้ ผู้ประกอบการสมควรพัฒนาต่อ แต่ก็ต้องระวังการล้นตลาด ส่วนสินค้าที่ราคาตกควรได้รับการหลีกเลี่ยง เพราะแสดงถึงอุปสงค์ที่จำกัดนั่นเอง จะสังเกตได้ว่า บริเวณใดตั้งราคาสินค้าสูงเกินจริง และขายสินค้าที่ผิดจากความต้องการของผู้บริโภค ก็จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นโครงการต่าง ๆ จึงควรทำการศึกษาวิเคราะห์ตลาดก่อนการวางแผนพัฒนาโครงการ และแม้ในระหว่างการพัฒนาโครงการก็ยังต้องทำการสำรวจต่อเนื่องเพื่อประกันว่า โครงการของตนได้ “เดินมาถูกทางแล้ว”

ดร.โสภณกล่าวต่อไปว่า ส่วนสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในระดับโลกยังมีความไม่แน่นอนพอสมควร อย่างกรณีสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาบ้านในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ราคาเพิ่มขึ้น 3.7% โดยเดือนล่าสุดคือเดือนพฤษภาคม ราคาเพิ่มขึ้น 0.8%  แต่ราคานี้ยังเท่ากับราคาเมื่อเดือนเมษายน 2547 หรือเป็นราคาที่ยังต่ำกว่าราคาช่วงสูงสุดคือเดือนเมษายน 2550 อยู่ที่ 17%

 

สำหรับประเทศในยุโรปตะวันตกรวมทั้งกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียยังกำลัง ต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจอย่างยิ่งยวด ตลาดอสังหา ริมทรัพย์ที่เป็นตัวแปรตามภาวะเศรษฐกิจจึงถดถอยไปด้วย อาจกล่าวได้ว่ามีเพียงประเทศเดียวที่คึกคักสดใสที่สุด คือประเทศรัสเซีย ซึ่งจากการดูงานเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาพบว่า ตลาดยังคงคึกคักอีกนาน คล้ายญี่ปุ่นในยุค 30 ปีก่อน

จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยข้างต้น อาจมีความเป็นไปได้ที่ว่านักลงทุนในอาเซียนอาจแห่มาลงทุนในไทยหลังเปิด AEC ในปี 2558 นอกจากการที่นักลงทุนของไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ ผลจากการสำรวจของศูนย์ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมสมาคมผู้ประเมินค่า ทรัพย์สินแห่งอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2555 จำนวนเกือบ 100 คนจากทั้งหมดเกือบ 200 คน ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินในภูมิภาคนี้ ให้ความเห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจในอีก 2 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2557

 ส่วนใหญ่ 67% บอกว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น มีเพียง 4% ที่คิดว่าจะเลวร้ายลง อย่างไรก็ตามผู้แทนจากประเทศไทยส่วนใหญ่เห็นว่าจะยังคงเหมือนเดิม  ต่อกรณีตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีก 2 ปีข้างหน้าคือ ณ พ.ศ.2557 พบว่าส่วนใหญ่ 66% จากแทบทุกประเทศระบุว่าสถานการณ์น่าจะดีกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ตามผู้ประเมินค่าทรัพย์สินจากประเทศไทยยังเห็นว่าตลาดยังจะไม่มี การเปลี่ยนแปลงอะไรมากนักใน 2 ปีข้างหน้า

 ต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า 62% เห็นว่าน่าจะส่งผลในทางบวกต่อประเทศของตนเอง อย่างไรก็ตามไทย เวียดนามดูเหมือนจะมีความห่วงใยเช่นกันต่อการเข้ามาแข่งขันทางการบริการ วิชาชีพจากประเทศอื่น และเมื่อถูกถามถึงความพร้อมในการรับมือกับการแข่งขันใน AEC ปรากฏว่าเวียดนามกลับมีความพร้อมที่สุดถึง 86% จาก 100% รองลงมาคือมาเลเซีย ได้ 72% อันดับสามคือไทย 67% และอินโดนีเซีย 63% บรูไนและฟิลิปปินส์ ดูมีความพร้อมต่ำกว่าเพื่อนคือได้ 58% และ 57% ตามลำดับ

estate

 มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ ประเทศเพื่อนบ้านจะกรีฑาทัพเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ทั้งนี้  โดยพิจารณาจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครถือว่า มีจำนวนโครงการอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับกรุงจาการ์ตา กรุงพนมเปญ กรุงมะนิลา และนครโฮชิมินห์ นอกจากนั้นในพื้นที่ตากอากาศเช่นพัทยา สมุย ภูเก็ตและหัวหิน ก็มีต่างชาติสนใจมาลงทุนเป็นจำนวนมากเช่นกัน

 

ที่มา:http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351167332&grpid=03&catid=&subcatid=

 

Go to top