แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

 

koratเป็นเรื่องธรรมดาที่ไลฟ์สไตล์ของนักการเมืองส่วนใหญ่ มักจะแตกต่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นชาวบ้านธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด แต่ไม่ใช่ที่อุรุกวัย เพราะที่นี่ นักการเมืองที่มีอำนาจที่สุดของประเทศ อาศัยอยู่ในกระท่อมปลายไร่ที่ยังไงก็ดูไม่สมกับตำแหน่ง

 

 

 

 

 

 

 


ราวตากผ้านอกบ้านน้ำที่ใช้ดื่มกินก็มาจากบ่อน้ำนอกบ้านสนามหน้าบ้านเต็มไปด้วยวัชพืชมีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจ2นาย และมานูเอลลา สุนัขพิการ 3 ขา ทำหน้าที่ดูแลบ้าน ซึ่งจริงๆควรจะเป็นทำเนียบประธานาธิบดี


เราอาจกล่าวได้ว่า ที่นี่คือบ้านพักประธานาธานาธิบดีแห่งอุรุกวัย นายโฮเซ มูฮิกา ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากผู้นำรายอื่นของโลกอย่างชัดเจน


ปธน.มูฮิกา ได้ปิดบ้านพักหรูประจำตำแหน่งที่รัฐมอบให้ในกรุงมอนเตวิเดโอ และเลือกที่จะอาศัยอยู่กับภรรยาที่บ้านหลังเล็กๆสุดถนนลูกรัง ในฟาร์มย่านชานเมืองหลวง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมเท่าที่พอจะอำนวยด้วยตนเอง ด้วยการปลูกพืชไม้ดอก

 

 

 


ชีวิตที่แสนเรียบง่ายและความจริงที่ว่านายมูฮิกาบริจาคเงินเดือนซึ่งตกเดือนละ12,000ดอลลาร์สหรัฐกว่าร้อยละ 90  เพื่อมอบให้การกุศล ซึ่งนี่เองที่ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้นำประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก


นายมูฮิกาเปิดเผยว่า เขาใช้ชีวิตเช่นนี้มานานแล้ว นั่งพักผ่อนบนเก้าอี้เก่าๆในสวน หรือไม่ก็นั่งบนโซฟาที่เจ้ามานูเอลลาโปรดปราน


"ผมพอใจในสิ่งที่ผมมี"


เงินที่เขาบริจาค ซึ่งมอบให้แก่คนยากจนและผู้ประกอบการขนาดเล็ก ทำให้เขามีชีวิตอยู่ด้วยรายได้ที่เทียบกับค่าเฉลี่ยของรายได้ต่อเดือนของชาวอุรุกวัย ที่ราว 755 ดอลลาร์ (23,405 บาท)

 

 

 


ในปี2010การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินประจำปีของคณะรัฐบาลอุรุกวัยพบว่านายมูฮิกามีทรัพย์สินมูลค่า1,800ดอลลาร์ (ราว 55,800 บาท)ซึ่งก็คือราคาของรถเต่าโฟล์กสวาเกนของเขา ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 1987


ส่วนในปีนี้ เขาบวกทรัพย์สินของภรรยาไปด้วย ซึ่งประกอบด้วยที่ดิน รถแทรกเตอร์ และบ้าน รวมแล้ว เขามีทรัพย์สินอยู่ที่ 215,000 ดอลลาร์  (ราว 6,665,000 บาท) อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนเพียง 2 ใน 3 ของทรัพย์สินทั้งหมดของรองประธานาธิบดีดานิลโล แอสโทรี และคิดเป็น 1 ใน 3 ของทรัพย์สินของอดีตประธานาธิบดีทาบาเร วาสเกส


นายมูฮิกา ได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี 2009 เขาใช้เวลาในยุค 1960 และ 1970 ในฐานะสมาชิกกลุ่มกองโจรทูปามารอส กองกำลังติดอาวุธฝ่ายซ้ายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการปฏิวัติในคิวบา เขาเคยถูกยิง 6 ครั้ง และถูกจำคุก 14 ปี สภาพในระหว่างการถูกคุมขังเต็มไปด้วยความยากลำบากและโดดเดี่ยว กระทั่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 1985 เมื่ออุรุกวัยกลับสู่การเป็นประเทศประชาธิปไตย

 

 

 


นายมูฮิกา เผยว่าในช่วงหลายปีระหว่างการถูกคุมขัง ช่วยทำให้มุมมองต่อชีวิตของเขาได้รับการขัดเกลา


เขากล่าวว่า การได้รับฉายาว่าประธานาธิบดีที่ยากจนที่สุดในโลก ไมทำให้เขารู้สึกว่าตนเองจน คนจนคือคนที่ต้องทำงานหนักเพื่อตอบสนองรสนิยมอันหรูหราของตน และมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด


สำหรับเขา "สภาพความเป็นอยู่เช่นนี้ คือการได้มีอิสระเสรี เพราะหากคุณไม่ได้ครอบครองสิ่งใดมากมาย คุณก็ไม่จำเป็นต้องทุ่มแรงกายแรงใจเยี่ยงกรรมกรเพื่อหามันมาครอบครอง และยิ่งไปกว่านั้น คุณยังมีเวลาเป็นของตนเองด้วย"


"ผมอาจเป็นคนแก่ที่ดูประหลาด แต่นี่เป็นวิถีที่เป็นอิสระ"

 

 

 


ผู้นำอุรุกวัย กล่าวถึงในประเด็นเดียวกันนี้ ในการกล่าว ณ ที่ประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม ริโอ+20 เมื่อเดือนมิถุนายน ว่าหลายประเทศต่างพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน


"แต่เรากำลังคิดอะไรอยู่? เราต้องการรูปแบบการพัฒนาและการบริโภคของประเทศร่ำรวยเช่นนั้นหรือ? ผมขอถามคุณว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ หากชาวอินเดียมีสัดส่วนการครอบครองรถต่อครัวเรือนเท่าเยอรมนี? แล้วเราจะเหลืออ็อกซิเจนไว้หายใจอีกเท่าไหร่?"


"โลกใบนี้มีทรัพยากรเพียงพอ เพื่อที่จะตอบสนองให้คน 7 หรือ 8 พันล้านคน มีระดับการบริโภคและการสร้างขยะที่เท่าเทียมกับประเทศร่ำรวยหรือไม่? และนี่เป็นระดับการบริโภคที่เกินจำเป็นที่กำลังทำร้ายโลกของเรา


นายมูฮิกา กล่าวตำหนิผู้นำของโลกส่วนใหญ่ ที่มีความเชื่อที่ผิดๆว่า การสร้างการเติบโต คือการกระตุ้นการบริโภค ซึ่งในทางตรงกันข้าม จะนำไปสู่จุดจบของโลก


อิกนาซิโอ ซูอาสนาบาร์ สำรวจประชามติชาวอุรุกวัย เปิดเผยว่า หลายคนแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อประธานาธิบดีมูฮิกา เนื่องจากวิถีชีวิตที่เขาเลือกเดิน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้การถูกวิพากษ์วิจารณ์ในตัวเขายุติลง โดยเฉพาะในสิ่งที่รัฐบาลกำลังกระทำ ฝ่ายค้านอุรุกวัยกล่าวว่า ตัวเลขความมั่งคั่งล่าสุดของอุรุกวัย ไม่ได้ก่อให้เกิดการบริการสาธารณะ อาทิ สาธารณสุขและการศึกษาดีขึ้น และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 ที่คะแนนนิยมในตัวเขาตกลงต่ำว่า 50%

 

 

 


ปี นี้ยังเป็นปีที่เขาต้องเผชิญมรสุมทางการเมืองอย่างหนักจากนโยบาย2ประการ เมื่อเร็วๆนี้รัฐสภาอุรุกวัยได้ผ่านร่างกฎหมายที่อนุญาตให้สตรีทำแท้งได้ กระทั่งมีอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ และนายมูฮิกาไม่ได้ใช้อำนาจในการยับยั้ง ซึ่งต่างกับผู้นำคนก่อน


นอกจากนั้น เขายังสนับสนุนให้มีการอภิปรายเพื่อให้การบริโภคกัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ที่จะทำให้รัฐบาลมีสิทธิผูกขาดในการค้าแต่เพียงผู้เดียว โดยเขาแสดงความคิดเห็นว่า การบริโภคกัญชาไม่ใช่เรื่องน่ากังวลที่สุด การรับมือกับกาค้ายาเสพติดคือปัญหาที่แท้จริง


แต่ถึงกระนั้น ปัญหาเหล่านี้ ก็ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกกังวลต่อคะแนนนิยมมากนัก เพราะตามกฎหมายอุรุกวัย เขาจะไม่สามารถเข้าชิงชัยในการเลือกตั้งในปี 2014 ได้อีก อีกทั้งขณะนี้ เขามีอายุถึง 77 ปีแล้ว และมีแนวโน้มที่จะอำลาวงการการเมือง


และเมื่อถึงเวลานั้น เขาจะดำเนินชีวิตโดยอาศัยสวัสดิการจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว และที่แตกต่างจากอดีตผู้นำประเทศคนอื่น เขาอาจจะไม่ลำบากนัก ในการปรับตัวให้ชินกับชีวิตที่รายได้ลดลง

 

 

{youtube width="550"}AoCk8UWn_s0{/youtube}

ที่มา:http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353143710&grpid=&catid=06&subcatid=0600

 

Go to top