เป็นภาพถ่ายในสมัย พ.ศ 2454 ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถเสด็จโคราช
ได้มาจากป้ายที่ไทรงาม พิมาย
เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม
มีลักษณะสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมูล
ที่ประทับที่พิมาย
พลับพลาหน้าปราสาทหินพิมาย
ปราสาท หินพิมาย หันไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทอื่นที่หันไปทางทิศตะวันออก ... นครวัดหันไปทางตะวันตกเพราะจะทำเป็นที่บรรจุพระศพ ... สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู่เมืองพิมายทางทิศใต้
พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท
จาก หลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ( ก่อนนครวัดซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ) ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์
ต่อมาปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งหันมานับถือพุทธศาสนา นิกายมหายาน
แล้ว อิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
พลับพลา เปลื้องเครื่อง
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
เดิม เรียกกันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่างๆ
จากการขุดแต่งบริเวณนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า "คลังเงิน"
ภาพในปัจจุบ้น ... ไม่แน่ใจว่ามุมเดียวกันหรือไม่
กำแพงปราสาทหินพิมาย
ประตูปราสาทหินชั้นนอก
ดู จากเสาน่าจะเป็นอันเดียวกันคือ ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว เป็นประตูที่ต่อจากสะพานนาคราช ... สะพานนาคราชเป็นตัวเชื่อม โลกมนุษย์และสวรรค์
ซุ้มประตูและระเบียงคด
เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง
อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน
ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน
ทับหลังด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ทับหลังด้านทิศตะวันตก
ทับหลังด้านทิศตะวันออก
ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tuk-tukatkorat&month=09-2010&date=24&group=40&gblog=5