แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน และรักษาสุขภาพ

 

น้อยหน่า 
น้อยหน่า ชื่อสามัญ Sugar apple, Sweetsop

น้อยหน่า ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona squamosa L. จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)

น้อยหน่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลาหนัง (ปัตตานี), หน่อเกล๊ะแซ (แม่ฮ่องสอน), มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ), หมักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น

น้อยหน่า มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและใต้ พบได้ทั่วไปในเขตร้อนรวมถึงบ้านเรา โดยจะเพาะปลูกมากในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของผลน้อยหน่า เนื้อผลจะมีสีขาว ให้รสหวาน มีเมล็ดสีดำ ซึ่งส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆได้แก่ ผล ผลดิบ ผลแห้ง เมล็ด และใบ สำหรับบ้านเรานิยมนำใบหรือเมล็ดของน้อยหน่ามาใช้ในการกำจัดเหา เห็บหมัด เป็นต้น

ประโยชน์ของน้อยหน่า

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม และดวงตา
  3. น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน และรักษาสุขภาพ (แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานถือเป็นข้อยกเว้น)
  4. ช่วยรักษาโรคหอบหืด (วิตามินซี)
  5. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (เส้นใย)
  6. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล (วิตามินบี 3)
  7. ช่วยลดความดันโลหิต (โพแทสเซียม)
  8. ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  9. มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
  10. ใบน้อยหน่ามีสรรพคุณช่วยรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอก (ใบ)
  11. ช่วยรักษาโรคไขข้อและโรคข้ออักเสบ (แมกนีเซียม)
  12. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แมกนีเซียม)
  13. ช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย (แมกนีเซียม)
  14. ช่วยส่งเสริมการผลิตพลังงานในร่างกาย (วิตามินบี)
  15. ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) (ทองแดง)
  16. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
  17. ช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
  18. ช่วยบรรเทาอาการปวดเหงือกปวดฟัน (เปลือกต้น)
  19. ช่วยในการย่อยอาการ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก (ผล)
  20. ใช้เป็นยาระบาย (ราก)
  21. แก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)
  22. ใช้เป็นยาสมานลำไส้ (เปลือกต้น)
  23. ช่วยแก้รำมะนาด (เปลือกต้น)
  24. ช่วยรักษาโรคเริม (ผลแห้ง)
  25. ใช้แก้พิษงู (ผล, ราก, เปลือกต้น)
  26. แก้งูสวัด (ผลแห้ง)
  27. ช่วยสมานแผล ใช้เป็นยาฝาดสมาน (เปลือกต้น)
  28. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ อักเสบ น้ำร้อนลวก (ผล)
  29. น้อยหน่ามีสรรพคุณใช้แก้ฝีในลำคอ (ผล)
  30. ใช้แก้ฝีในหู (ผลแห้ง)


เมล็ดน้อยหน่ามีสรรพคุณช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้เมล็ดหรือใบน้อยหน่าสดนำมาคั้นเอาน้ำ แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ผล, ใบสด, เมล็ด)
ประโยชน์ของใบน้อยหน่า ใช้เป็นยารักษาหิด ด้วยการใช้สดหรือเมล็ดสดมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำมันพืชลงไปพอแฉะ แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ จนกว่าหิดจะหาย (ใบ, เมล็ด)
ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม (ใบ)
ช่วยฆ่าพยาธิ (ผล, ใบ)

Custard Apple 3

ขอขอบคุณภาพจาก  https://recipes.timesofindia.com/articles/health/10-interesting-health-benefits-of-custard-apple/photostory/65270191.cms


สรรพคุณของใบน้อยหน่าช่วยฆ่าพยาธิในเด็ก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15 ใบนำมาต้มกับน้ำ 5 ถ้วยจนเหลือ 3 ถ้วยแล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง (ใบ)
ใบน้อยหน่ากำจัดเหา ช่วยทำให้ไข่เหาฝ่อ ฆ่าเหา ด้วยการใช้ใบน้อยหน้าสดประมาณ 4 ใบนำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วเอาน้ำที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วใช้หวีสางออก (หรือจะใช้แค่น้ำคั้นจากใบอย่างเดียวก็ได้) หรือจะใช้เมล็ดนำมาบดคั้นกับน้ำมะพร้าว (อัตราส่วน 1:2) แล้วกรองเอาแต่น้ำมาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าโพกไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน ทำเสร็จแล้วให้สระผมทำความสะอาดทุกครั้ง (ใบ, เมล็ด)
ประโยชน์ของน้อยหน่าใช้เป็นยารักษาจี๊ด ด้วยการใช้เมล็ดสดประมาณ 20 เมล็ดนำมาตำให้ละเอียด แล้วใช้สารส้มขนาดเท่าหัวแม่มือใส่ในฝาละมี ตั้งไฟอ่อน ๆ เมื่อสารส้มละลายแล้ว ให้โรยผงของเมล็ดน้อยหน่าลงไปทีละน้อย คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นใช้ไม้ป้ายยาที่กำลังร้อนแต่พอให้ผิวหนังทนได้ แล้วป้ายลงตำแหน่งที่บวม ทำวันละ 2 รอบเช้าเย็น จนกว่าจะหาย (เมล็ด)
เมล็ดน้อยหน่ากำจัดเห็บหมัดในสุนัข สูตรเดียวกับกำจัดเหา (ใบ,เมล็ด)


คุณค่าทางโภชนาการของน้อยหน่าต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 94 กิโลแคลอรี
    คาร์โบไฮเดรต 23.64 กรัม
    เส้นใย 4.4 กรัม
    ไขมัน 0.29 กรัม
    โปรตีน 2.06 กรัม
    วิตามินบี 1 0.11 มิลลิกรัม 10%
    วิตามินบี 2 0.113 มิลลิกรัม 9%
    วิตามินบี 3 0.883 มิลลิกรัม 6%
    วิตามินบี 5 0.226 มิลลิกรัม 5%
    วิตามินบี 6 0.2 มิลลิกรัม 15%
    วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม 4%
    วิตามินซี 36.3 มิลลิกรัม 44%
    ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%
    ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม 5%
    ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
    ธาตุแมงกานีส 0.42 มิลลิกรัม 20%
    ธาตุฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม 5%
    ธาตุโพแทสเซียม 247 มิลลิกรัม 5%
    ธาตุโซเดียม 9 มิลลิกรัม 1%
    ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%
    % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ข้อควรระวัง
น้ำคั้นจากใบน้อยหน่า ต้องระวังอย่าให้ถูกบริเวณตาหรือเปลือกตา บริเวณรูจมูก ริมฝีปาก เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ถ้าเข้าตาอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้ ต้องให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที
น้ำสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ควรระวังอย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง เยื่อบุตาอักเสบได้
สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรบริโภคน้อยหน่าแต่เล็กน้อยและนาน ๆ ครั้ง เนื่องจากน้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัด การรับประทานปริมาณมากอาจทำให้อาการของโรคเบาหวานกำเริบขึ้นได้
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th, www.thaicrudedrug.com , www.lifestyle.iloveindia.com, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพประกอบ : Sudarat Homhual, kasetintree.com, health.todayza.com

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai) : https://medthai.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2/

Go to top