แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

bo ออกตัวก่อน.....เรื่องนี้ไม่ยาวเท่าไหร่  ไม่วิชาการมา  ทนอ่านหน่อยเน้อ 
เรื่องนี้ผมเคยอ่านนานแล้ว  แต่อยู่ๆก็นึกถึงมัน เห็นว่าให้ข้อคิดได้ดี เลยหามาให้อ่านกัน

 

 

มีโจทย์ในข้อสอบฟิสิกส์ข้อหนึ่งของมหาวิทยาลัย Copenhagen โจทย์มีอยู่ว่า
“จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร”

มีนักศึกษาคนหนึ่งตอบว่า
“เอาเชือกยาวๆ ผูกกะบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากบนหลังคา แล้วก็เอาความยาวเชือก 
บวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก”
***บาร์รอมิเตอร์นี่ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศ  อากาศนั้นมันมีน้ำหนักหรือมีแรงกดดัน 
และแรงกดของอากาศนั้นจะเปลี่ยนเมื่อระดับความสูงเปลี่ยนไป***

 

ฟังดูครั้งแรกตลกเลยทีนี้ ^^  
แต่...อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบไม่ตลกด้วยนี่สิ  และแน่นอนว่าเขาถูกตัดสินให้สอบตก!!

ส่วนนักศึกษาผู้นั้นก็ยังยืนกรานว่า คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างแน่นอน  ทางมหาวิทยาลัยจึงตั้งกรรมการมาตัดสินเรื่องนี้
กรรมการตัดสินว่า คำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอนแต่คำตอบที่ได้ไม่แสดงถึงความสามารถทางฟิสิกส์ 

เพื่อแก้ปัญหาทางกรรมการจึงให้เรียก นักศึกษาคนนั้นมาแล้วให้เวลา6นาทีเท่ากับเวลาที่ทำข้อสอบเดิม
เพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์

เมื่อเวลาผ่านไปได้3นาที นักศึกษาคนนั้นก็ยังนั่งนิ่งอยู่  กรรมการเตือนว่า "เวลาจะหมดแล้วจะไม่ตอบหรืออย่างไร" 
นักศึกษาก็ตอบว่า "เขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดี"

เมื่อได้รับคำเตือนให้รีบ นักศึกษาจึงตอบมาดังนี้ :

- เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึก ทิ้งลงมาแล้วจับเวลาจนถึงพื้น ความสูงของตึกหาได้จากสูตร H=0.5g * t กำลัง2

- หรือถ้าแดดดี ให้วางบารอมิเตอร์ ให้ตั้งฉากพื้นแล้ววัดความยาวของเงาบารอมอเตอร์  จากนั้นวัดความยาวของเงาตึก
แล้วคิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความสูงของตึกโดยไม่ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ

- หรือถ้าเกิดอยากโชว์ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ ก็เอาเชือกเส้นสั้นๆมาผูกกะบารอมิเตอร์แล้วแกว่งเหมือนลูกตุ้ม
ตอนแรกก็แกว่งระดับพื้นดิน แล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้า  ความสูงของตึกจะหาได้จากความแตกต่างของคาบการแกว่งเนื่อง
จากความแตกต่างของแรงดึดดูดจากจุดศูนย์กลางของมวลคำนวนจาก T=2พายกำลัง2รากที่2ของl/g

แต่ถ้าคุณต้องการเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือตามแบบแผนจำเจซ้ำซาก คุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดความดันอากาศที่พื้น และที่ยอด
ตึก  จากนั้นคำนวนความแตกต่างของความดันก็จะได้ความสูงตึก

- แต่ถ้าจะให้ง่ายๆตรงไปตรงมา  ไปเคาะประตูห้องภารโรง แล้วบอกว่า "ถ้าต้องการบารอมิเตอร์สวยๆ ใหม่เอี่ยมแล้วละก็ช่วย
บอกความสูงของตึกให้ผมทีแล้วผมจะยกให้" 



นักษึกษาคนนั้นก็คือ นีล โบร์ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปีค.ศ. 1922

bor

นีลส์ บอร์ (Niels Hendrik David Bohr – พ.ศ. 2428-2505) นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนแล้วจึงได้ไปทำงานที่ประเทศอังกฤษ ที่เมืองเคมบริดจ์ และแมนเชสเตอร์ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีที่โคเปนเฮเกนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 จนถึงแก่กรรม นีลส์ บอร์ ได้ขยายต่อยอดทฤษฎีโครงสร้างอะตอมให้ก้าวหน้าไปเป็นอันมาก จากการให้การอธิบายสเปกตรัมของไฮโดรเจน โดยวิธีสร้างแบบจำลองไฮโดรเจนและทฤษฎีควอนตัม (พ.ศ. 2456)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บอร์ได้ไปช่วยโครงการวิจัยระเบิดปรมาณูที่ สหรัฐอเมริกาและกลับโคเปนเฮเกนเมื่อสิ้นสงครามในปี พ.ศ. 2488, นีลส์ บอร์ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกทฤษฎีที่โคเปนเฮเกน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อ พ.ศ. 2465

ที่มา: http://www.instrument.tmd.go.th/?p=409

ที่มา:http://board.postjung.com/641902.html#

 

Go to top