แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

การจับกุมดำเนินคดี "บิ๊กจุ๋ม" พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (อดีตรอง ผบ.ตร.)

จาก'พงศ์พัฒน์'ถึง'จุมพล'บทเรียนสีกากีนอกกฎหมาย!

และอดีตข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ ในข้อหาบุกรุกป่าเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน บ้านน้ำซับ หมู่ที่ 11 ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

ถือเป็นอีกครั้งที่ "นายตำรวจระดับสูง" ต้องตกเป็นผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเสียงเอง ทั้งๆ ที่ตามบทบาทหน้าที่ "ตำรวจ" หรือ "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดกฎหมาย

แม้สถานะ "พล.ต.อ.จุมพล" ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็น "ตำรวจ" ไปแล้ว เพราะเกษียณอายุราชการตำรวจไปตั้งแต่ปี 2553 ตำแหน่ง "รอง ผบ.ตร." แต่พฤติการณ์การกระทำผิดจนต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีบุกรุกป่าเกิดขึ้นช่วงที่ พล.ต.อ.จุมพล ยังเป็น "ตำรวจ" ดำรงตำแหน่ง "ผบช.ภ.3" อยู่ในขณะนั้น

พฤติการณ์การกระทำผิดของ พล.ต.อ.จุมพล ตามข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า บ้านพักตากอากาศ เลขที่ 163 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ หมู่ที่ 2 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 1 งาน 75 ตร.ว. ปลูกสร้างอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน

โดยพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าว ปี 2551 นางชญานิศฐ์ หรือป้อม พรหมมิจิตร (พิศิษฐวานิช) ปลัด อบต.ไทยสามัคคี เป็นผู้ครอบครองที่ดินแปลงเกิดเหตุ และเป็นแฟนกับ พ.ต.ท.พงษ์เดช พรหมมิจิตร รอง ผกก.หน.สภ.วังน้ำเขียว (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ปี 2554 พ.ต.ท.พงษ์เดช และนางชญานิศฐ์ ร่วมกันขายที่ดินแปลงเกิดเหตุให้ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผบช.ภ.3 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) และเริ่มทำการก่อสร้างบ้านพัก และปรับภูมิทัศน์ที่ดินเพื่อพักอาศัย โดย พล.ต.อ.จุมพล ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ เช่น มาพักผ่อนช่วงวันหยุด มีการจัดเลี้ยงช่วงเทศกาลต่างๆ

เข้าข่ายในความผิดฐาน 4 ข้อหา 1.ร่วมกันก่อสร้าง หรือทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าหรือเข้ายึดถือ หรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต, ผู้ใดครอบครองป่าที่ได้ถูกแผ้วถางโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นเป็นผู้แผ้วถางป่านั้น ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 55 2.ร่วมกันยึดหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า, ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หิน กรวด หรือทราย ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ มาตรา 16 (1), (4)

3.ร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ โดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหาย แก่ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นของรัฐ หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐ ตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 4.ร่วมกันยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14

images/0toey/27/Image.jpg

ก่อนหน้านี้สังคมก็ฮือฮากับการกระทำผิดของ "นายตำรวจ" ระดับสูงมาแล้วครั้งหนึ่ง คือคดีที่ "บิ๊กกิ๊ก" พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (อดีต ผบช.ก.) ตกเป็นผู้ต้องหาคดีเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนหรือประโยชน์อื่นใด ความผิดตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน การเรียกรับผลประโยชน์จากบ่อนพนันอาบูบาก้า บ่อนโคลอนเซ และส่วยน้ำมันเถื่อน รวมทั้งคดีฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนหรือประโยชน์อื่นใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

โดย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ พร้อมพวกร่วมกันกระทำการเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่โดยเรียกรับเงินจากผู้กระทำผิดการพนันออนไลน์ (อาบูบาก้า) ร่วมกับผู้อื่นทำการเปิดบ่อนการพนันโคลอนเซ ย่านพระรามเก้า ร่วมกันเรียกรับเงินจากการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในสังกัด บช.ก. ร่วมกันเรียกรับเงินส่วยน้ำมันเถื่อนจากผู้ลักลอบค้าน้ำมันเชื้อเพลิงกลางทะเลในภาคใต้ โดยผิดกฎหมาย

จากนั้นยังได้กระทำความผิดฐานฟอกเงิน โดยนำเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งของเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และความผิดเกี่ยวกับการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันดังกล่าว ฟอกเงินนำเงินสด ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่ได้จากการกระทำผิดไปซื้อหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นทรัพย์สินเป็นโฉนดที่ดิน

ในการขึ้นศาลครั้งนั้น พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ได้แถลงต่อศาลว่า พวกจำเลยทุกคนยอมสารภาพผิด โดยขณะเกิดเหตุตนเป็นผู้สั่งการให้จำเลยอื่นๆ ปฏิบัติตามคำสั่งทุกประการ เนื่องจากตนเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ทำให้มีความเคารพน่าเชื่อถือ

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้งหมดกระทำผิดจริงตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3, 5, 7, 60 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 โดย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ จำเลยที่ 1 กระทำผิดรวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 10 ปี เป็นจำคุก 20 ปี เช่นเดียวกับจำเลยอื่นๆ ก็ต้องคดีจำคุกกันไปเช่นกัน

นอกจากนี้ ศาลอาญา ยังมีคำพิพากษา คดีดำ อ.290/2558 ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีต ผบช.ก. กับ พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ อายุ 59 ปี อดีตรอง ผบช.ก. ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-2 โดยพิพากษาจำคุกคนละ 12 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกคนละ 6 ปี ฐานร่วมกันหมิ่นประมาท, ดูหมิ่นแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์รัชทายาท เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และจัดให้มีการเล่นการพนันบ่อนโคลอนเซ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 112 , พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 41, 123/1 พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 และเมื่อวันที่ 12 ก.พ. ศาลอาญาได้พิพากษาคดีดำ อ.415/58 ให้จำคุก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ นางสวงค์ มุ่งเทียง และนายเริงศักดิ์ ศักดิ์ณรงค์เดช สามีภรรยา ฐานร่วมกันกระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ อีกคนละ 9 เดือน โดยขณะนี้ศาลอาญาได้พิพากษาจำคุก พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์จำนวน 3 คดี รวมจำคุก 16 ปี 9 เดือน

ส่วน พล.ต.ต.โกวิทย์ ศาลพิพากษาแล้วรวม 2 คดี คดีดำที่ อ.290/2558 ที่ร่วมกระทำผิดกับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ และคดีฟอกเงิน คดีดำที่ ฟย 16/58 รวมจำคุก 11 ปี สำหรับ พล.ต.ต.บุญสืบ ไพรเถื่อน อดีต ผบก.รน. ศาลพิพากษาคดีนี้เป็นคดีแรกฐานฟอกเงิน คดีดำที่ ฟย 16/2558 จำคุก 1 ปี 6 เดือน ส่วนนางสวงค์ และนายเริงศักดิ์ ศาลได้พิพากษารวม 2 คดีแล้ว คือ คดีดำ อ.415/58 ที่ร่วมกระทำผิดกับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จำคุกคนละ 9 เดือน และคดีฟอกเงิน คดีดำที่ ฟย 16/58 รวมจำคุกคนละ 5 ปี 9 เดือน

สำหรับนางปิยพรรณ และนายชอบ น้องสาวและน้องเขยของของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ศาลอาญาพิพากษานี้เป็นคดีแรกฐานฟอกเงิน คดีดำที่ ฟย 16/58 ให้จำคุกทั้งสองคนๆ ละ 5 ปี

ทั้ง 2 คดี ที่เกิดขึ้นกับ 2 นายตำรวจระดับสูง น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญของ "ตำรวจ" ในการประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็น "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" เมื่อเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายแล้วก็ต้องเคารพกฎหมาย หากกระทำการใดๆ อยู่นอกเหนือกฎหมาย สุดท้ายก็จะหนีไม่พ้นต้องตกเป็น "ผู้ต้องหา" เสียเองเช่นนี้.

ทั้ง 2 คดี ที่เกิดขึ้นกับ 2 นายตำรวจระดับสูง น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญของ "ตำรวจ" ในการประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็น "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" เมื่อเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายแล้วก็ต้องเคารพกฎหมาย หากกระทำการใดๆ อยู่นอกเหนือกฎหมาย สุดท้ายก็จะหนีไม่พ้นต้องตกเป็น "ผู้ต้องหา" เสียเอง

 

 

 

ขอขอบคุณบทความจาก : http://www.ryt9.com/s/tpd/2610977

Go to top