แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_computer it

 ข่าวสารในแวดวงไอทีทุกค่ายยืนยันเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า

"ฮอต เมล์" เว็บเมล์อันดับต้นๆ ของโลก นั้นเดินทางมาถึงคราวอวสาน-ปิดตัวลงในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้แน่นอน หลังให้บริการมานานกว่า 16 ปี มียอดผู้ใช้งานปัจจุบันกว่า 360 ล้านแอ๊กเคาต์ทั่วโลก

นับเป็นข่าวสะเทือนวงการอีกครั้งจากฟาก "ไมโครซอฟท์" ยักษ์ใหญ่วงการคอมพิวเตอร์ที่กำลังดิ้นรนแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดของตัว เองกลับคืนมา

ต่อเนื่องจากประกาศสุดช็อก ขีดเส้นตายปิดให้บริการ "วินโดว์ส ไลฟ์ เมสเซ็นเจอร์" (ดับเบิ้ลยูแอลเอ็ม/เอ็มเอสเอ็น)

ทำให้ผู้บริโภคต้องหันไปใช้ "สไกป์" แทน จนผู้ใช้บางส่วนรู้สึกปรับตัวไม่ทัน

การ ปิดตัวลงของ ฮอตเมล์ เกิดขึ้นหลัง ความพ่ายแพ้ต่อ "จีเมล์" เว็บเมล์ที่พัฒนาโดย "กูเกิ้ล" บิ๊กเบิ้มวงการเสิร์ชเอ็นจิ้น ที่มียอดผู้ใช้งานแซงทะลุ 425 ล้านแอ๊กเคาต์ไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 คว้าอันดับเว็บเมล์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกมาครองแทน ฮอตเมล์

ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจปฏิรูประบบการให้บริการอีเมล์ของตัวเองอีกครั้ง แม้จะเพิ่งผ่าตัดใหญ่ ฮอตเมล์ ไปเมื่อเดือนต.ค. 2554

โดย การปรับปรุงระบบ "ฟรีอีเมล์" ครั้งล่าสุดนี้ มีข่าวว่าไมโครซอฟท์หวังจะได้ใจ ผู้บริโภคกลับคืนมา ภายใต้ชื่อแสนคุ้นเคยอย่าง "เอาต์ลุก" ที่ไส้ในนั้นถูกดีไซน์มาแบบใหม่ถอดด้าม เน้นความเรียบง่ายและทันสมัย มีการตอบสนองว่องไว กระฉับกระเฉง

ไมโครซอฟท์ ระบุว่า เสียงตอบรับ "เอาต์ลุก" ตัวใหม่ ซึ่งจะมาใช้แทนที่ฮอตเมล์นั้น "เสียงตอบรับ" อยู่ในขั้นน่าพอใจมากทีเดียว

เพราะ หลังการเปิดตัวทดลองใช้เพียง 6 เดือน ก็สามารถดึงดูดให้มีผู้มาลงทะเบียนกว่า 60 ล้านแอ๊กเคาต์ไปเรียบร้อย และกำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดย 1 ใน 3 ของผู้ลงทะเบียนเปลี่ยนมาจากจีเมล์ ทำให้ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศแผนให้เอาต์ลุก "เขมือบ" ฐานข้อมูลแอ๊กเคาต์ของผู้ใช้บริการฮอตเมล์ ทั้งหมดภายในเดือนเม.ย.นี้ เป็นต้นไป ถือเป็นการประกาศศึกท้าชนรอบใหม่กับจีเมล์!

ฮอตเมล์ นับเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ให้บริการอีเมล์ หรือเว็บเมล์แบบ "สแตนด์-อโลน" ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รุ่นราวคราวเดียวกับ "ยาฮู! เมล์" (ร็อกเกตเมล์)

ก่อตั้งโดยชาวสหรัฐ 2 คน ได้แก่ นายซาเบียร์ บาเตียร์ และ นายแจ๊ก สมิธ

 

เริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ 4 ก.ค. 2539 ตรงกับ "วันชาติสหรัฐ" เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพในการใช้บริการอีเมล์ที่ไม่ขึ้นตรงกับผู้ให้ บริการอินเตอร์เน็ต หรือไอเอสพี และทำให้ผู้ใช้บริการทั่วโลกสามารถเข้าถึงอีเมล์ของตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา

ซึ่งคำว่า "ฮอตเมล์" ถูกเลือกขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับ "เอชทีเอ็มแอล" ที่เป็นภาษาดิจิตอลซึ่งใช้เขียนเว็บไซต์ (HoTMaiL) โดยให้พื้นที่เก็บข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ แอ๊กเคาต์ละ 2 เมกะไบต์

ต่อ มาเพียง 1 ปี หลังเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ฮอตเมล์มีผู้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกถึง 8.5 แอ๊กเคาต์ทั่วโลก ก่อนจะถูกขายให้กับไมโครซอฟท์ไปในราคา 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.2 หมื่นล้านบาท (ค่าเงินปัจจุบัน) เมื่อเดือนธ.ค. 2540 และถูกผนวกรวมกับเข้ากับบริการ "ไมโครซอฟท์ เน็ตเวิร์ก" หรือเอ็มเอสเอ็น ต่อมาเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในระยะเวลา 2 ปี มีแอ๊กเคาต์เพิ่มเป็น 30 ล้านแอ๊กเคาต์ ผงาดเป็นเว็บเมล์ที่มียอดผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก

กระทั่งในปี 2547 บริษัทกูเกิ้ล ได้เปิดตัว "จีเมล์" ที่มีจุดเด่นเหนือกว่าทั้งในด้านขนาดความจุ ความรวดเร็ว และความยืดหยุ่นของข้อมูล ก่อให้เกิดกระแสการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมด้านการให้บริการอีเมล์อย่างดุ เดือด ระหว่างจีเมล์ ยาฮู!เมล์ และฮอตเมล์ ที่ต่างทยอยเพิ่มขนาดความจุ ปรับปรุงความเร็ว และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้อย่างต่อเนื่อง

แต่ใน ที่สุดยอดผู้ลงทะเบียนของจีเมล์แซงหน้าฮอตเมล์ และยิ่งทิ้งห่างไปอีก ภายหลังสมาร์ตโฟนที่ใช้โอเอส "แอนดรอยด์" ของ กูเกิ้ล ซึ่งแนะนำให้ผู้ใช้งานสมัครเป็นสมาชิกจีเมล์ ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น

ไมโครซอฟท์ ระบุว่า การเปลี่ยนผ่านจากฮอตเมล์สู่เอาต์ลุกดังกล่าวจะมีความราบรื่น โดยอีเมล์ แฟ้มงาน และข้อมูลการติดต่อ รวมทั้งการตั้งค่าต่างๆ ตลอดจนระบบตอบกลับอัตโนมัติ จะยังคงอยู่เหมือนเดิม

สมาชิกฮอตเมล์สามารถเข้าใช้แอ๊กเคาต์ของตัวเองได้ตามปกติที่ www.outlook.com แทน ด้วยชื่อแอ๊กเคาต์และรหัสผ่านเดิม

นอก จากนี้ ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้นำข้อติชมต่างๆ จากผู้ใช้บริการจริงมาปรับปรุงระบบและรูปแบบต่างๆของเอาต์ลุกด้วย

ดังนั้นผู้ใช้ ฮอตเมล์ ทั้งหลายอย่างเพิ่งอึดอัด สับสน ตระหนก วิตก ระแวง จนเกินไป

สําหรับ ฟีเจอร์เด่นๆ ของ เอาต์ลุกใหม่ ได้แก่ "สวีป" ที่ทำให้ ผู้ใช้ตั้งค่าการปฏิบัติต่างๆ ต่ออีเมล์แต่ละฉบับที่ถูกส่งเข้ามาโดยอัตโนมัติ เพื่อแก้ไขปัญหา "ขยะท่วม" กล่องอีเมล์ เนื่องจากพบว่า อีเมล์กว่าร้อยละ 80 ในกล่องของผู้ใช้นั้นเป็นอีเมล์เกี่ยวกับการโฆษณาและธุรกิจเชิญชวน


อีกฟีเจอร์หนึ่ง คือ การลดโฆษณา หรือ "แอดส์" ที่ติดมากับอีเมล์ ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้

และ เอาต์ลุก ยังสามารถเชื่อมต่อกับแอ๊กเคาต์ของบริการเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยม สูง เช่น Facebook, LinkedIn, Sina weibo และ Twitter ของผู้ใช้ได้ ซึ่งทำให้ลดปัญหาแอดส์น่ารำคาญลงได้เฉลี่ยร้อยละ 60

ขณะที่ "สกายไดรฟ์" หรือ บริการสำหรับเก็บข้อมูลไว้บนเซิร์ฟเวอร์ (คลาวด์) ก็จะเชื่อมต่อเข้ากับเอาต์ลุกด้วย เพื่อให้ข้อมูลที่ผู้ใช้เคย "อัพโหลด" ไว้ สามารถถูกนำไปแบ่งปันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ที่สำคัญคือ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแนบไฟล์ส่งที่มีขนาดสูงสุดได้ถึง 300 เมกะไบต์! (จีเมล์ให้แค่ 25 เมกะไบต์) และความจุกล่องอิน บ็อกซ์ 5 กิกะไบต์ ที่จะเพิ่มขึ้นตามการใช้งาน พร้อมระบบ "เอ็กซ์เชนจ์ แอ๊กทีฟ ซิงก์" ที่เชื่อมต่อครบวงจรทั้งอีเมล์ รายชื่อติดต่อ และปฏิทินในสมาร์ตโฟนที่ใช้โอเอสเป็นวินโดว์ส หรือที่นิยมเรียกว่า "วินโดว์ส โฟน"

ด้านรูปลักษณ์ใหม่ของเอาต์ลุก นั้นมีลักษณะเหมือนกับ "วินโดว์ส 8" ระบบปฏิบัติการ หรือโอเอสใหม่ ของไมโครซอฟท์ คือเป็น "เมโทร-สไตล์" ที่เน้นความเรียบหรู แลดูไม่รกหูรกตา

โดยผู้ใช้ สามารถเข้าสู่เมนูหลักได้ที่บริเวณมุมซ้ายบน จะมีเมนูเลื่อนลงมา ประกอบด้วย 4 โหมด ได้แก่ "Mail" "People" "Calendar" และ "SkyDrive" สำหรับตรวจอีเมล์ เชื่อมต่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคม สร้างปฏิทินเตือนความจำ และบริการเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ ตามลำดับ

นอกจากนี้ แอ๊กเคาต์ของเอาต์ลุกจะผนวกเข้ากับแอ๊กเคาต์ของ "เอ็กซ์ บ็อกซ์ ไลฟ์" และแอพพลิเคชั่นพื้นฐานต่างๆ ในวินโดว์ส 8 ด้วย

ส่วน ลักษณะภายใน "อิน บ็อกซ์" ที่เป็นส่วนเก็บอีเมล์ทั่วไป ถูกออกแบบมาให้มีความรวดเร็วและง่ายต่อการอ่าน ผู้ใช้เลือกปรับเปลี่ยนสีพื้นฐานต่างๆ ได้ โดยบริเวณขอบด้านบนสุดถูกออกแบบใหม่ให้มีขนาดกะทัดรัด เพื่อเพิ่มเนื้อที่แสดงอีเมล์ด้านล่างให้แลเห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น

ไมโครซอฟท์ ระบุด้วยว่า จะไม่มีโฆษณา หรือแอดส์ติดมาอย่างสิ้นเชิง และจะ "ไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ ของผู้ใช้เพื่อนำไปจำหน่ายต่อให้โฆษณาต่างๆ" เหมือนกับที่จีเมล์ทำอยู่

รวมทั้งเอาต์ลุก ยังทำงานอยู่บนโปรโต คอลแบบ "เอชทีทีพีเอส" ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าโปรโตคอลแบบ "เอชทีทีพี" ที่ใช้กันทั่วไป เมื่อผู้ใช้เปิดอีเมล์ของผู้ที่มีรายชื่อบันทึกอยู่ใน "คอนแท็กต์" ระบบจะแสดงข้อมูลทางด้านเครือข่ายสังคมที่ผู้ใช้มีกับรายชื่อนั้นเพื่อให้ สามารถติดต่อกันได้อีกทางหนึ่งด้วย

นายไมเคิล มัชมัวร์ กูรูไอทีจากเว็บไซต์พีซีแม็กของสหรัฐ ระบุภายหลังทดลอง ใช้ว่า บริการเว็บเมล์ใหม่ของไมโครซอฟท์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างความรวดเร็ว เรียบง่าย และเครื่องมือการคัดกรองอีเมล์ที่ยอดเยี่ยม การเชื่อมต่อเครือข่ายสังคม และสกายไดรฟ์

แต่มีข้อเสียอยู่ตรงที่ไม่มีตัวเลือก และลูกเล่นให้ผู้ใช้ปรับแต่งมากเท่าที่ควร

นาย มัชมัวร์กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการเว็บเมล์ต้องการส่วนใหญ่ คือ ความสะดวกรวดเร็ว ความสะอาดตา และความชัดเจน รวมทั้งความง่ายในการใช้งาน ตลอดจนการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคม การบริการเก็บข้อมูลคลาวด์ พร้อมระบบการสนทนาออนไลน์ และความเร็วที่เหนือชั้นในการเปิดอ่านอีเมล์...

เอาต์ลุกเป็นเว็บเมล์ที่มอบสิ่งเหล่านี้ให้กับผู้บริโภค!

"เรียบง่าย แต่เปี่ยมด้วยพลัง" นายมัชมัวร์กล่าว

อย่าง ไรก็ตาม นายชาลส์ คิง นักวิจัยการตลาดไอทีจากบริษัท พันด์-ไอที เห็นว่า ผู้ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเปลี่ยนผ่าน ครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการฮอตเมล์ เนื่องจากจะถูกย้ายไปใช้แพลตฟอร์มใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงมาจากข้อบกพร่อง ของฮอตเมล์

จุดมุ่งหมายของไมโครซอฟท์ คือ มุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้บริโภคใหม่และทำให้คนกลุ่มนี้ภักดีกับแบรนด์เอาต์ลุก

นาย คิงชี้ว่า เอาต์ลุกเป็นเว็บเมล์ที่ดี และอาจถึงขั้นยอดเยี่ยมด้วย ทว่าเอาต์ลุกยังขาดเสน่ห์แรงๆ ที่จะจูงใจให้ผู้ใช้บริการเก่าอื่นๆ ยอมสละเวลามาสมัครอีเมล์ใหม่ เว้นเสียแต่ว่าผู้ใช้บริการเก่าเหล่านั้นจะผิดหวังกับเว็บเมล์ปัจจุบันเอา มากๆ นอกจากนี้ การสมัครใหม่ยังหมายถึงปัญหาการติดต่อจากผู้อื่น ทำให้ผู้สมัครใหม่ต้องเสียเวลามานั่งคอยบอกอีเมล์ใหม่ให้กับผู้ติดต่อทุกคน

"นี่ เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมไมโครซอฟท์ถึงแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการเชื่อมต่อกับ เครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้งการใช้เรื่องไม่มีแอดส์เป็นจุดขาย เพราะต้องการทำให้ผู้บริโภคมองว่าการใช้อีเมล์ของเจ้าอื่นๆ ทำให้ข้อมูลของตนถูกละลาบละล้วง จนรู้สึกไม่พอใจ และในที่สุดก็อาจเปลี่ยนมาใช้เอาต์ลุกแทน" นายคิงกล่าว

 

ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361860751&grpid=09&catid=06&subcatid=0600

 

Go to top