แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

หลากหลายกิจกรรมยามว่างที่จะช่วยทำให้คุณรู้สึกหายเบื่อ หรือหายเครียดจากสภาวะแวดล้อม สังคม การแข่งขัน ไปจนถึงเรื่องงานที่แม้ยามกลับบ้านก็ยังคงไม่รู้จักจบจักสิ้นนั้น หลายๆ คนอาจจะเลือกการไปเที่ยวเพื่อพักผ่อน บางคนอาจจะเลือกการช้อปปิ้งเสื้อผ้าแฟชั่น กระเป๋าแฟชั่น รองเท้า หรือเครื่องประดับต่างๆ  เพื่อเป็นการบำบัด ซึ่งก็ล้วนแต่แตกต่างกันไปตามความนิยมชมชอบ แต่อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบำบัดความเครียดได้ง่ายและยังได้สารประโยชน์ไปในตัว โดยที่ไม่ต้องเสียตังค์ให้มากมายโดยใช่เหตุนั้น ก็คือการเลือกอ่านหนังสือเล่มโปรดสักเล่มนั่นเอง

            เพราะการอ่านนั้นจะช่วยพัฒนาทักษะความรู้ ทำให้สมองได้มีพัฒนาการ เหมือนเป็นการเปิดโลกด้วยมุมมองที่แตกต่างไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่การที่คุณจะอ่านหนังสือให้ดีที่สุดนั้นไม่ใช่จะเอาความรู้ที่ได้มานั้นแลกไปกับสุขภาพของดวงตาที่จะต้องเสื่อมลงไปด้วย เพราะอิริยาบถและวิธีในการอ่านนั้น มีผลต่อสุขภาพดวงตาทั้งสิ้น รวมไปจนถึงลักษณะของหนังสือที่คุณอ่านก็เช่นกัน วันนี้เราจึงมีคำแนะนำดีๆ ในการอ่านหนังสือเพื่อรักษาสุขภาพของดวงตามาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้นเราลองมาดูกันได้เลย

1.      เลือกสถานที่อ่านที่มีสภาวะแวดล้อมเหมาะสม

            ควรอยู่ในสถานที่ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่จ้าหรือมืดเกินไป นอกจากนี้การอ่านขณะที่เราต้องเคลื่อนที่เช่นบนรถ หรือเดิน ก็จะทำให้สายตาต้องเพ่งโฟกัสอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งสถานที่ๆ มีความพลุกพล่าน มีคนเดินผ่านหรือมีสิ่งรบกวน ก็จะทำให้เรามีสมาธิจดจ่อกับการอ่านได้ยากขึ้นอีกด้วย

2.      เลือกจากสีของพื้นกระดาษ สีของหมึกพิมพ์ และขนาดตัวอักษร

            ส่วนใหญ่แล้ว การพิมพ์หนังสือจะนิยมพิมพ์บนกระดาษสีพื้น ซึ่งสีที่เหมาะที่สุดนั้นควรจะเป็นสีตุ่นๆ สักหน่อยที่มีการสะท้อนแสงน้อย เพื่อเป็นการถนอมสายตาได้ดีกว่าสีขาวจั๊วะ ยิ่งถ้าเป็นพื้นกระดาษสีสันสดใสจะยิ่งต้องใช้สายตาในการเพ่งอ่านที่มากขึ้น ในส่วนของหมึกพิมพ์นั้นควรเป็นสีเข้มอย่างสีดำเพื่อให้ลอยเด่นจากพื้นกระดาษ มีขนาดตัวอักษรไม่ต่ำกว่า 14 point เพื่อให้สายตาไม่ต้องเพ่งขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป อีกทั้งตัวอักษรขนาดใหญ่ไปก็ใช่ว่าจะดี เพราะสายตาจะต้องโฟกัสกับขนาดที่ค่อนข้างเกินระดับสายตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการใช้สายตา ความอ่อนล่าหรือความสบายในการอ่านทั้งสิ้น

3.      ท่าทางที่ถูกต้องและสมาธิ ณ ช่วงเวลานั้นๆ

            ควรหาที่นั่งที่รู้สึกสบายในการถือหนังสือ มีความผ่อนคลาย และถือหนังสือให้อยู่ในระดับห่างจากสายตาอย่างน้อย 30 เซนติเมตร ไม่ควรนอนอ่าน เพราะเป็นท่าที่อาจจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและสายตายังต้องปรับระดับมากกว่าการนั่ง สุดท้ายคือหากคุณหรือสึกเครียดหรือหงุดหงิดอยู่ ก็ยังไม่ควรอ่านหนังสือ เพราะสภาวะอารมณ์ในช่วงนั้นจะทำให้เกิดสมาธิยาก และอ่านหนังสือได้ไม่ค่อยรู้เรื่อง นอกจากนี้ ในทุกๆ 40-50 นาทีขณะอ่านหนังสือ ควรหยุดพักสายตาด้วยการมองไปไกลๆ หรือมองสิ่งที่มีสีเขียวเพื่อให้สายตาได้ผ่อนคลายบ้าง รวมทั้งพยายามกระพริบตาให้ได้ 1-2 ครั้งในทุก 10 วินาทีให้เคยชิน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความอ่อนล้าของดวงตาได้มาก

 

Go to top