แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

     มีผู้รู้เป็นผู้เล่าสู่กันฟังว่า ชุมชนแห่งนี้หากนับย้อนวันเวลากลับไป น่าที่จะได้ชื่อว่าเป็น แหล่งประวัติศาสตร์สำคัญที่มีอายุยืนยาวมาไม่ต่ำกว่า 300 ปี และเป็นปีแห่งรัชสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงย้ายทำเลที่ตั้งของเมืองจันท์หรือจันทบุรี จากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งมีชื่อเรียกเดิมทีว่า “จันทบูร” ไปอยู่ทางฝั่งตรงข้ามด้านทิศตะวันตก ณ บริเวณบ้านลุ่ม โดยกำหนดให้ชุมชนพากันไปสร้างบ้านเรือนอยู่บนเนินเหนือพื้นที่ลาดลงสู่ริม ฝั่งน้ำในย่านท่าสิงห์, ท่าหลวง
d
ผู้รู้รายเดียวกันยังเล่าอีกว่า ด้วยปัจจัยที่เหมาะในเรื่องทำเลที่ตั้ง ซึ่งเมื่อติดฝั่งน้ำกับความเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านตะวันออกแล้ว ที่นี่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่คู่อย่างล้นหลาม ส่งผลให้ดินแดนดังกล่าวกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศเลยทีเดียว

ยามนั้นชุมชนริมน้ำจันทบูร ดูจะฟูเฟื่องเรืองรุ่งทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้แผ่นดินผืนเดียวกันนี้กลับมีผู้คนอีกหลายเชื้อชาติปะปนเข้าไปอยู่อาศัย มีทั้งชาวจีน ญวน โดยเฉพาะญวนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่พากันหลั่งไหลเข้าไป มากมาย
d
ครั้งนั้นในส่วนของท่าหลวง ซึ่งมีสภาพเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ ได้ถูกจัดให้เป็นจุดศูนย์กลางทางการค้า และคมนาคมสำคัญของพื้นที่ ขณะที่บริเวณตลาดกลางได้ถูกจัดให้เป็นย่านการค้า กับที่อยู่อาศัยผสมกลมกลืนกันไป ส่วนตลาดล่างลงไป ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยคละกันไปกับการทำมาค้าขายเพื่อยังชีพของผู้คนในยุค นั้น

  ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งจักรีวงศ์ พระองค์ทรงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจันทบูรจากบ้านลุ่มที่อยู่กันเดิม ไปตั้งหลักปักฐานใหม่ที่ ’ค่ายเนินวง” นัยว่าเพื่อป้องกันการคุกคามจากกองทัพญวน ทว่ามิได้มีเหตุการณ์ร้ายใด ๆแผ้วพานแผ่นดินผืนนี้ ลุถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมองเห็นว่ายุทธภูมิที่อยู่อาศัยกันมา แต่เก่าก่อนนั้นน่าจะเหมาะสมกว่า จึงทรงโปรดฯ ให้ชุมชนทั้งหมดย้ายกลับไปยังบริเวณบ้านลุ่ม ซึ่งก็คือถิ่นฐานอันมั่นคงของเมืองจันทบุรีดังที่ได้เห็นกันถึงปี พ.ศ.นี้นั่นเอง
d
มองกลับมาที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร ที่ตั้งอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร หรือจันทบุรี ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี ที่ผู้คนต่างยกบ้านเรือนไม้ขึ้นเป็นแถวเป็นแนว ประมาณ 200 หลังคาเรือนตลอดระยะทาง 1 กิโลเมตร จากย่านท่าหลวงจดย่านตลาดล่าง สองฝั่งถนนสายสุขาภิบาล ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนสายแรกของเมือง ๆ นี้ คนในชุมชนแห่งนี้เขาเล่าขานเป็นตำนานท้องถิ่นของตนเองกันมาว่า...เมื่อถนน เข้ามามีบทบาทแทนสายน้ำที่เคยสัญจรไปมา ชุมชนริมน้ำจันทบูรก็ถึงคราต้องลดบทบาทด้านการค้า และคมนาคมลงไปอย่างช่วยไม่ได้

ซ้ำร้ายในกาลต่อมาคือปี 2533 ชุมชนต้องประสบกับความหายนะครั้งใหญ่ จากอัคคีภัยที่เผาผลาญบ้านเรือนแทบไม่เหลือให้เห็น กระทั่งเกิดวิกฤติธรรมชาติส่งผลซ้ำจากการเกิดน้ำท่วมใหญ่ใน ปี 2542 ขณะที่การค้าอัญมณีที่เคยคึกคักก็กลับซบเซาหงอยเหงาไปทั้งย่าน ใครจะไปนึกเล่าว่าจันทบุรีจะเกิดอาเพศถึงขั้นนั้น?
d
สุดท้ายคือเหล่าลูกหลานที่เกิดและเติบโตมาจากแผ่นดินผืนเดียวกัน ก็ให้มีอันต้องปรับเปลี่ยนค่านิยมด้วยการชวนกันทิ้งถิ่นกันยกใหญ่ ชุมชนที่ถือว่าเป็นแบบอย่างของเมืองจันทบูร จึงถึงคราต้องปิดประตูบ้านตัวเองหลังแล้วหลังเล่า–อนิจจา!

ประมาณ 10 ปีที่ชุมชนแห่งนี้แทบจะกลายเป็นบ้านร้างกลางเมืองใหญ่ กระทั่งเมื่อปี 2552 จึงได้เริ่มมีคนมองเห็นคุณค่าในวิถีเก่าก่อนที่เคยมีมา โดยได้รีบยื่นมือเข้าไปช่วยผลักดันปันส่วน พัฒนาชุมชนแห่งนี้ให้กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมา ด้วยวิธีจุดประกายให้กลายมาเป็นย่านการค้าสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้มันเหมือนเช่นวันเก่า ๆ ที่คนเก่า ๆ เขาเคยสืบสานส่งไม้ต่อให้กับลูกหลานผ่านกันมาหลายชั่วอายุคน
v
ที่น่าภูมิใจก็ตรงคนในชุมชนเองนั่นแหละ ที่ต่างลุกยืนขึ้นมาจับมือกันในรูปของ ’คณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูร” เพื่อกำหนดทิศทางในการอนุรักษ์ภูมิทัศน์ชุมชน และพัฒนาวิถีความเป็นอยู่กันใหม่ ทว่าให้อยู่ในแนวทางเก่าที่เคยปรากฏในอดีต ซึ่งก็หมายถึงการร่วมมือร่วมใจกันรักษารูปแบบวิถีชีวิตประจำวันที่ผูกพันกับ การค้าเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ขณะเดียวกันถึงสังคมแวดล้อมรอบด้านหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่คนที่นี่ก็ยังพร้อมจะขอกอดคอกันแน่น ภายใต้ข้อสัญญาทางใจที่ว่า เราจะเก็บคุณค่างานศิลปะสถาปัตยกรรมเรือนไม้ริมน้ำของชุมชนทุกชิ้นที่หลง เหลืออยู่จากแต่ละครัวเรือนเอาไว้ให้นานเท่าที่จะนานได้เพื่อคนรุ่นหลังจะ ได้ช่วยกันสืบสานมรดกชิ้นนี้กันต่อ ๆ ไป

วันนี้...เมืองจันทบูรในอดีตหรือจันทบุรีในปัจจุบัน ที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้เคยเลือกใช้เป็นสถานที่ในการรวมพล แล้วทุบหม้อข้าวหม้อแกงทิ้งเพื่อนำกำลังพลออกไปกู้ชาติ กับเป็นเมืองที่พระปิยมหาราช เคยเสด็จฯ ประพาสมากกว่า 10 ครั้ง เพื่อทรงปลอบขวัญกำลังใจให้กับประชาชนหลังตกเป็นทาสนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส อยู่พักหนึ่ง ได้กลายเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ด้านวิถีชุมชน เมื่อชุมชนริมน้ำจันทบูรได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวขึ้นมา อย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างวันนี้
d
ถนนสายหลักที่นับเป็นถนนสายแรกของชุมชนเมื่อกว่า 300 ปีที่ผ่านมา และมีบ้านเรือนไม้สองฟากฝั่งเคียงข้างแม่น้ำจันท บูรตลอดเส้นทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นผู้คนที่อยู่อาศัยซึ่งล้วนเป็นทายาทชุมชนตัวจริง และสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ยังคงยึดมั่นอยู่กับการดำรงชีพแบบเดิม ๆ ด้วยการทำการค้าแบบเรียบง่ายและพอเพียง จนปัจจุบันพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวต่างแดนกำลังเลือกเป็นเป้าประสงค์ในการเดินทางไปสัมผัส

และด้วยองค์ประกอบที่ครบถ้วนดังกล่าว คณะกรรมการพัฒนาชุมชนริมน้ำจันท บูร ถึงได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้การอนุรักษ์เอาไว้อย่างชัดเจน ด้วยการจัดกิจกรรมขึ้นมารองรับนับแต่ปี 2522 เป็นต้นมา เริ่มจากการจัดงาน ’สีสันแห่งอัญมณี วิถีแห่งวัฒนธรรม“ ตามติดในปีถัดมาด้วยงาน ’เปิดบ้านริมน้ำ..มองอดีต ผ่านปัจจุบัน ณ ชุมชนริมน้ำจันทบูร”  จากนั้นถึงเปลี่ยนมาเป็น ’เยือนริมน้ำ...ย่ำตลาดพลอย”
d
และล่าสุดคือในวันที่ 26-28 ตุลาคม ศกนี้ ได้จับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) ภูมิภาคตะวันออก รวมถึงสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กำหนดจัดงาน “มหัศจรรย์สีสันวันวาน ย่านริมน้ำ    จันทบูร” เพื่อส่งเสริมให้ชาวจันทบุรีและนักท่องเที่ยวจากถิ่นอื่นเดินทางไปท่อง เที่ยว โดยงานนี้นอกจากจะมีการสาธิตอาหารพื้นบ้าน และการแสดงทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบดั้งเดิมของชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวญวนแล้ว ยังจะมีการแสดงดนตรีที่จะช่วยเสริมบรรยากาศให้ดูย้อนยุคอีกด้วย

และที่ยืนยันได้หนักแน่น งานนี้ไม่มีเวทีให้นักการเมืองฉวยโอกาสเข้าไปหาเสียง!.
.
บ้านเรือนไม้หลังเก่าที่ชวนรู้

บ้านเลขที่ 53 อายุกว่า 100 ปี เป็นบ้านของพระกำแหงฤทธิรงค์ ปลัดเมืองจันทบุรี สมัย ร.5 เป็นบ้านก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว เหนือประตูบานเฟี้ยมหน้าบ้าน มีช่องลมไม้ฉลุลายขนมปังขิง

บ้านเลขที่ 70 เป็นตึกทรงยุโรป ด้านหลังเป็นเรือนไม้ทรงไทย ติดแม่น้ำจันทบุรี อายุกว่า 100 ปี แต่เดิมเป็นโรงพิมพ์ ต่อมาขุนบุรพาภิผล ซื้อเป็นที่อยู่อาศัย และลูกหลานได้อาศัยสืบทอดกันมา โดยประกอบอาชีพขายขนมไข่ มีชื่อว่า “ขนมไข่ป้าไต๊”

จุดชวนสนใจ

โบสถ์คาทอลิก จำลองแบบมาจากโบสถ์นอร์ทเธอร์ดาม ฝรั่งเศส,ศาลเจ้าตลาดล่าง, ศาลเจ้ากวนอิม, ศาลเจ้าโจวซือกง,วัดอนัมนิกาย, วัดโบสถ์,ตึกโบราณชิโนโปรตุกิส

ร้านอาหารชวนกิน

ก๋วยเตี๋ยวเจ๊อี๊ด, ขนมลืมกลืน บ้านป้าต้อย, ขนมไข่ป้าไต๊,กาแฟยินดี, ก๋วยจั๊บ, ไอศกรีมตราจรวด, จันทรโภชนา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) สำนักงานระยอง(จันทบุรี) โทร.0 3865 5420-1, 0 3866 4585

ทีมวาไรตี้

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/article/224/159076

 

Go to top