แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
×

คำเตือน

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 2147483647
 
การปนเปื้อนของปรอทในอาหาร มักเกิดจากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนของน้ำทิ้งและของเสียจากโรงงานที่เป็นแหล่งของปลา หอย หมึก สัตว์น้ำและสัตว์ทะเลต่างๆ อีกทั้งการพัฒนาของอุตสาหกรรม ยังทำให้สารเคมีรวมทั้งปรอทปนเปื้อนเข้าสู่สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
 
หากแหล่งน้ำมีปรอทปนเปื้อน สัตว์น้ำที่อยู่ในบริเวณแหล่งน้ำนั้นก็ปนเปื้อนปรอทไปด้วย เช่น ปลาดุก ที่คนไทยนิยมนำมาปรุงและประกอบอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นยำปลาดุกฟู ผัดเผ็ดปลาดุก ลาบปลาดุก ปลาดุกย่างที่ทานคู่กับน้ำปลาหวานสะเดา หรือข้าวเหนียว ส้มตำ
 
เมื่อปรอทปนเปื้อนในอาหารแล้ว มันจะมีความคงตัวสูง ไม่ว่าจะนำอาหารไปปรุง หรือผ่านความร้อนด้วยวิธีใดก็ตาม ก็ไม่สามารถทำให้ปรอทหายไปจากอาหารได้
 
ฉะนั้น หากเราทานอาหาร เช่น ปลาดุกที่มีปรอทปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายบ่อยๆ มันจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อสะสมถึงระดับหนึ่งปรอทจะค่อยๆจับตัวกับเนื้อเยื่อในระบบประสาท ทำให้เป็นอันตรายต่อสมองและอวัยวะต่างๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท ทำให้สมองฝ่อ แขนขาอ่อนแรงคล้ายคนพิการได้
 
สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างปลาดุกย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรอทปนเปื้อน
 
ผลปรากฏว่า ปลาดุกย่างทุกตัวอย่างไม่พบปรอทปนเปื้อน
 
วันนี้ผู้ที่ชื่นชอบปลาดุกย่างสบายใจกันได้ แต่ขอแนะว่า ควรเลือกทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ทานอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ
 
ที่สำคัญไม่ควรทานอาหารปิ้งย่าง ที่ปิ้งหรือย่างจนไหม้เกรียม เพื่อความปลอดภัยและไกลโรค.
 
 
 
 
 
 
 
Go to top