แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

โดย รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ กระแสทรรศน์ มติชน 25ธ.ค.2555

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่โดยสารรถไฟไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะชอบความรู้สึก

สนุกและตื่นเต้นเมื่อได้ขึ้นรถไฟไปเที่ยว

แต่ ในเวลาต่อมา ความสนุกในการใช้รถไฟชักจะลดลงเรื่อยๆ และเปลี่ยนเป็นความวิตกกังวลแทนโดยเฉพาะเมื่อต้องใช้รถไฟเพื่อไปทำธุระตาม ต่างจังหวัด เพราะรถไฟไปถึงปลายทางล่าช้ากว่ากำหนดมากจนเสียงานเสียการ ในหลายๆ ครั้งจึงต้องเปลี่ยนไปใช้พาหนะอื่นแทนรถไฟ

หลังจากเก็บงำ ความอึดอัดมาหลายปี ตอนปลายปี 2554 ผู้เขียนก็ตั้งใจว่า ตลอดปี 2555 ผู้เขียนจะจดบันทึกว่า รถไฟที่ผู้เขียนใช้เดินทางทั้งหมด ออกเดินทางกี่โมง ถึงปลายทางกี่โมง ล่าช้าไปมากน้อยแค่ไหน

หวังให้ข้อมูลนี้เป็นหลักฐานไปถึงคนทำงานรถไฟ เพื่อให้มีการปรับปรุงขึ้นมาบ้าง
korat_train
ตลอด ปี 2555 ผู้เขียนใช้รถไฟเดินทางทั้งหมด 8 เที่ยว ในจำนวนนี้ รถไฟไปถึงปลายทางตรงเวลา 0 เที่ยว ไปถึงปลายทางล่าช้า 8 เที่ยว รายละเอียดการเดินทางโดยรถไฟตลอดปี 2555 มีดังนี้

เที่ยวที่ 1 วันที่ 3 มกราคม รถด่วนขบวน 52 เส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพฯ กำหนดถึงกรุงเทพฯ เวลา 05.30 น. ถึงจริงเวลา 07.17 น. ช้าไป 1 ชั่วโมง 47 นาที

เที่ยว ที่ 2 วันที่ 10 เมษายน รถด่วนพิเศษขบวน 13 เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กำหนดถึงลำปาง เวลา 06.50 น. (ผู้เขียนลงกลางทางที่ลำปาง ไม่ได้ไปถึงเชียงใหม่) ถึงจริงเวลา 10.09 น. ช้าไป 3 ชั่วโมง 19 นาที

เที่ยว ที่ 3 วันที่ 16 มิถุนายน รถด่วนขบวน 52 เส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพฯ กำหนดถึงลำปาง เวลา 19.50 น. ถึงจริงเวลา 20.16 น. ช้าไป 26 นาที

เที่ยว ที่ 4 วันที่ 13 สิงหาคม รถด่วนพิเศษขบวน 2 เส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพฯ กำหนดถึงกรุงเทพฯ เวลา 06.50 น. ถึงจริงเวลา 09.49 น. ช้าไป 2 ชั่วโมง 59 นาที

เที่ยวที่ 5 วันที่ 19 ตุลาคม รถด่วนพิเศษขบวน 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กำหนดถึงลำปาง เวลา 05.25 น. ถึงจริงเวลา 08.07 น.

ช้าไป 2 ชั่วโมง 42 นาที

เที่ยว ที่ 6 วันที่ 23 ตุลาคม รถด่วนพิเศษขบวน 2 เส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพฯ กำหนดถึงกรุงเทพฯ เวลา 06.50 น. ถึงจริงเวลา 08.18 น. ช้าไป 1 ชั่วโมง 28 นาที

เที่ยวที่ 7 วันที่ 9 พฤศจิกายน รถด่วนขบวน 85 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช กำหนดถึงหลังสวน เวลา 05.25 น. ถึงจริงเวลา 05.59 น. ช้าไป 34 นาที

เที่ยวที่ 8 วันที่ 11 พฤศจิกายน รถเร็วขบวน 174 เส้นทางนครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ กำหนดถึงกรุงเทพฯ เวลา 05.10 น. ถึงจริงเวลา 05.20 น. ช้าไป 10 นาที

สรุปว่าในปี 2555 รถไฟที่ผู้เขียนใช้เดินทางไปถึงสถานีปลายทางช้ากว่ากำหนดอย่างน้อยที่สุด 10 นาที ถึงช้ามากที่สุด 3 ชั่วโมง 19 นาที รวมเวลาที่การรถไฟฯ ทำให้ผู้เขียนเสียเวลาไปบนขบวนรถทั้งสิ้น 13 ชั่วโมง 25 นาที หรือเฉลี่ยเที่ยวละ 1 ชั่วโมง 40 นาที

korat_train

ในระหว่างที่เกิด ความล่าช้านั้น ซึ่งหลายๆ ครั้งก็ช้าตั้งแต่ออกจากต้นทาง ผู้เขียนไม่เคยพบเห็นว่า มีพนักงานการรถไฟฯ คนใด ทั้งที่สถานี หรือที่บนขบวนรถ มีทีท่าเดือดเนื้อร้อนใจกับ

ความไม่ตรงเวลาเลยแม้แต่คนเดียว (อาจจะมีพนักงานที่รู้สึกเดือดร้อน แต่ผู้เขียนไม่เคยเห็นก็เป็นได้)

พนักงาน บางคนเห็นความล่าช้าไม่ตรงเวลาเป็นเรื่องธรรมดา หรือเห็นเป็นเรื่องตลก โดยพูดหยอกเอินกับผู้โดยสารที่จะลงจากขบวนรถว่า "การเดินทางเที่ยวนี้ การรถไฟฯ แถมให้นะครับ" ซึ่งหมายความว่าแถมให้ผู้โดยสารได้นั่งรถไฟนานขึ้นกว่ากำหนด

ผู้ เขียนเคยนั่งรถไฟในต่างประเทศมาบ้าง ครั้งหนึ่งรถไฟที่นั่งในอังกฤษขณะกำลังวิ่งอยู่ก็หยุดกึกลงเฉยๆ ยังไม่ถึงอึดใจ ก็มีประกาศขออภัยมาทางลำโพงว่า มีฝูงแกะกำลังเดินข้ามทางรถไฟ จึงต้องขอหยุดขบวนรถเพื่อให้แกะข้ามทางไปก่อน

แกะข้ามทางรถไฟไม่ถึง 1 นาที เขาก็ยังมีความรับผิดชอบแจ้งให้ผู้โดยสารทราบ

อีก ครั้งหนึ่งที่สโลวีเนีย รถไฟออกจากสถานีกรุงลูบลิยานาล่าช้า เพราะสถานีตัดสินใจรอผู้โดยสารกลุ่มใหญ่ที่กำลังเดินทางด้วยรถบัสโดยสาร 3 คันเพื่อมาขึ้นรถไฟที่สถานีนี้

ผู้เขียนสังเกตเห็นว่าระหว่างที่รอ นั้น พนักงานรถไฟแต่ละคนสีหน้าไม่สู้ดี มีท่าทีกระวนกระวาย และเมื่อผู้โดยสารกลุ่มนั้นมาถึงสถานีรถไฟ พนักงานรถไฟก็กรูกันเข้าไปเพื่อช่วยเหลือให้ผู้โดยสารขึ้นรถไฟโดยเร็ว ในที่สุดแม้รถจะออกช้ากว่ากำหนดไปประมาณ 40 นาที แต่ก็ไปถึงปลายทางกรุงซาเกร็บ ประเทศโครเอเชียตรงเวลา

จากที่ยก ตัวอย่างจากต่างประเทศมาข้างต้นนี้ ผู้เขียนต้องขออภัยที่ต้องพูดเปรียบเทียบว่า ยังไม่เคยเห็นการแสดงความรับผิดชอบต่อความล่าช้าจากพนักงานระดับต่างๆ ในการรถไฟฯ แม้แต่ครั้งเดียว

ในเรื่องความล่าช้าของรถไฟ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การรถไฟฯ จัดประกวดหนังสั้น "ในความผูกพันของฉันกับการรถไฟไทย" เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร แต่มีกลุ่มคนทำหนังสั้นจากจังหวัดขอนแก่นที่มีนามว่า "กลุ่มฟินวิ่ว" ส่งหนังสั้นเรื่อง "ฉันนั่งรถไฟไปเยี่ยมแม่ที่กำลังจะตาย แต่ไปไม่ทัน แม่ฉันตายก่อน ฉันรักการรถไฟจังเลย" เข้าประกวด

แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้รับรางวัลจากคณะกรรมการตัดสิน แต่กลับได้รางวัล Popular ขวัญใจมหาชนแทน

ผู้ เขียนสังเกตว่า การรถไฟฯ พยายามทำประชาสัมพันธ์กับสาธารณชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเพิ่มการยอมรับ แต่ผู้เขียนเชื่อว่า การประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุดไม่ใช่แค่การบอกกล่าวความจริงแก่ประชาชน แต่คือการพัฒนาบริการให้ดี มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปด้วย

หากการรถไฟฯ "รู้" สาเหตุว่า ทำไมรถไฟล่าช้า ก็ควรแก้ไขที่ต้นเหตุเพื่อปรับปรุงให้รถไฟตรงเวลา แต่หากความล่าช้านั้นเป็นเรื่อง "ยังแก้ไม่ได้" เช่น หัวรถจักรเก่า ฯลฯ ก็ควรที่จะปรับกำหนดเวลาเดินทางให้สอดคล้องกับสมรรถนะของหัวรถจักรเหล่านั้น ตามจริง

ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้โดยสารคาดหวังว่ารถไฟจะตรงเวลา แต่ก็ไม่ตรง แล้วก็กลายเป็นความรู้สึกผิดหวัง ซึ่งการประชาสัมพันธ์ประมาณว่า "เรื่องนี้ การรถไฟฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ" คงช่วยอะไรไม่ได้มากนัก

korat_train

ในท้ายที่สุด ผู้เขียนอดคิดไม่ได้ว่า เป็นไปได้ไหมที่ "วัฒนธรรมองค์กร" อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิภาพของงาน เห็นได้จากเมื่อการรถไฟฯ ได้ไปบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่วิ่งระหว่างพญาไท-สุวรรณภูมิ

รถไฟสายนี้เป็นรถไฟลอยฟ้า ไม่ต้องมีจุดตัดกับถนน ไม่ต้องใช้รางร่วมกับขบวนรถสินค้า เป็นรถไฟใหม่เอี่ยมถอดด้าม มีรางคู่ไม่ต้องรอหลีก

แต่ ทุกวันนี้แอร์พอร์ตเรลลิงก์บางขบวนก็ไม่ตรงเวลา ไม่เป็นไปตามตารางเดินรถที่ประกาศไว้ในเว็บไซต์ แถมแต่ละสถานียังไม่มีป้ายแสดงเวลาเดินรถเข้าออกอีกต่างหาก (มีแต่บอกว่ารถขบวนถัดไปจะมาถึงในกี่นาที แต่ไม่มีป้ายที่บอกว่ารถไฟวันนี้มีกี่ขบวน เข้าออกเวลาใดบ้าง ตรงเวลาหรือล่าช้าอย่างไร ทำให้ผู้โดยสารไม่มีข้อมูลขบวนรถให้เลือก)

หาก เรื่องเหล่านี้มีสาเหตุจากวัฒนธรรมองค์กรของการรถไฟฯ ที่สถาปนามาตั้งแต่ปี 2433 ผู้เขียนก็เชื่อว่ามันคงจะแก้ไขได้ และขอเป็นกำลังใจให้คนรถไฟแก้ไขให้ได้

ไม่งั้นแล้วรถไฟความเร็วสูงจากจีนซึ่งเป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย ก็อาจเป็นบริการถัดไปที่กลายเป็นเหยื่อของ "วัฒนธรรมองค์กร"

ที่มา:http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356419962&grpid=&catid=12&subcatid=1200

 

 
 
Go to top