แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_dam

ความคลางแคลงใจต่อการสร้างเขื่อน เรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดระหว่างโครงการและนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ในกรณี "โครงการไซยะบุรี" ที่แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว ก็ถูกตั้งคำถามเช่นกัน

คำถามที่ว่านั้นเป็นความกังวลต่อ "วงจรชีวิตปลา" แหล่งโปรตีนสำคัญของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขง และ "วิถีชีวิตคน" รอบๆ โครงการ





เกี่ยวกับเรื่องนี้ ช.การช่าง โดย สมควร วัฒกีกุล ที่ปรึกษาด้านธุรกิจพลังน้ำ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ภาพรวมเมื่อโครงการสร้างเสร็จ เราจะเห็นว่าแม่น้ำก็จะเป็นเหมือนแม่น้ำสายใหญ่สายหนึ่ง เหนือน้ำไม่มีอ่างเก็บน้ำ เพียงแต่น้ำเอ่อตลิ่งขึ้นไปจนเกือบถึงหลวงพระบาง แต่ไม่ถึงประเทศไทย แล้วก็ตัวโครงการเรามีทางเดินเรือผ่าน เรือ 500 ตันสามารถขึ้นลงได้สะดวก ตรงนี้จะเป็นทางระบายน้ำล้น ใต้ส่วนนี้จะมีทางระบายตะกอน 4 บานใหญ่ ตรงนี้เป็นโรงไฟฟ้าติดตั้งเครื่องไฟฟ้า 8 เครื่อง ใต้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็มีทางระบายทรายออกไป ทางฝั่งซ้ายเราจะมีทางที่จะให้ปลาว่ายผ่านขึ้นไปเป็นธรรมชาติ จากเหนือน้ำท้ายน้ำ ติดต่อถึงกันได้ ปลาจะเข้าได้หลายจุด วิ่งได้หลายช่อง มีจุดเข้าหลายแห่ง

ในส่วนของประชาชน ข้อเท็จจริงคือประชาชนในพื้นที่ตรงนั้นอยู่กันค่อนข้างที่จะแร้นแค้นยากลำบาก การคมนาคม การเดินทางลำบาก ถนนหนทางไม่ค่อยมี รวมทั้งเรื่องของสวัสดิการต่างๆ สาธารณะสุข การศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่เพียงพอ ที่สำคัญการงานอาชีพรายได้ก็อยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก เพราะฉะนั้นการมีชีวิตแบบดั้งเดิมคือความเจริญยังไม่มากนัก

ฉะนั้นเมื่อมีโครงการเข้ามา สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนวิถีชีวิตไปในทางที่สะดวกสบายมากขึ้น มีการงานที่จะทำมากขึ้น ที่ผมเชื่อว่ามันจะดีก็คือจะทำให้อนาคตรุ่นลูกรุ่นหลานมีการศึกษาที่ดี และมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และเชื่อว่าถ้าทำโดยสมบูรณ์แล้วอนาคตของลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะเจริญกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศลาวที่ยังอยู่ในประเทศที่ยากจนอยู่ แล้วก็มีเป้าหมายที่อยากจะพ้นความยากจนในปี 2020  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เป้าหมายของรัฐบาลประสบความสำเร็จ


บ้านที่สร้างขึ้นใหม่ให้ชาวบ้าน

"ที่นี่เราย้ายเพียง 458 ครอบครัวเท่านั้นเอง ถามว่าเราดูแลเขายังไง เราได้มีการทำตามกระบวนการ เราได้มีการปรึกษาหารือกับเจ้าเมือง เจ้าบ้าน มีการกำหนดแผนการวิธีการที่จะตกลงกันว่าจะย้ายไปอยู่ที่ไหนยังไง แล้วเราก็มีการสร้างบ้าน สร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนน ไฟฟ้า ปะปา รวมทั้งสาธารณูปการต่างๆ เราจะมีค่าช่วยเหลือในช่วงที่ย้าย แล้วก็จะมีการพัฒนาอาชีพ เราจะมีการดูแลชนกลุ่มน้อย เมื่อเขาย้ายไปแล้วเรายังช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ย้ายแล้วจบ ย้ายแล้วยังสนับสนุนต่อไปอีกหลายปี"


สมควร วัฒกีกุล อธิบายเรื่องสิ่งแวดล้อม



ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้น สมควร แจกแจงเป็นข้อๆ ดังนี้

1.การเดินเรือ เขื่อนทั่วๆ ไปในประเทศเราอาจจะไม่คุ้นเคยกับเนวิเกชั่น ล็อก แต่เขื่อนไซยะบุรี มีเส้นทางเดินเรือซึ่งออกแบบไว้ให้เรือขนาด 500 ตันผ่านได้ตลอดปี ฉะนั้นนี้จะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกซึ่งเป็นไปตามไกด์ไลน์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission ) หรือ MRC ไว้อย่างสมบูรณ์และเทคโนโลยีสูงสุด  

2.เรื่องของปลา โดยปกติทั่วๆ ไป จะทำเป็นบันไดปลา ให้ปลากระโดดอย่างที่เขื่อนปากมูล แต่ที่นี่ไม่ใช่ เราทำเป็นทางปลาที่ให้ปลาว่ายผ่านขึ้นผ่านลงได้อย่างสะดวก มีความกว้างพอที่จะรับปริมาณได้มาก และสิ่งที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ก็คือ การทำทางปลาผ่านจะทำให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นคอนกรีตที่ไม่เหมือนธรรมชาติซึ่งปลาไม่ชอบ ฉะนั้นเราไปดูตัวอย่างมาจากต่างประเทศ  เราจะทำให้ทันสมัยที่สุด ฉะนั้นเรื่องปลานอกจากเราจะทำให้ปลาผ่านได้สะดวกแล้ว เรายังจะมีสถานีเพาะพันธุ์ปลาเพื่อช่วยให้ชาวประมงได้มีปลาจับอย่างเพียงพอด้วย

3.เรื่องของตะกอน ตะกอนที่จะผ่านแม่น้ำไป เป็นปัญหาว่าตะกอนจะเป็นแหล่งอาหารของพืชและสัตว์ทางด้านท้ายน้ำ เรื่องนี้อธิบายว่า ปัญหาที่เคยเป็นมาคือตะกอนสำหรับเขื่อนเก็บกัก จะถูกเก็บไว้เกือบหมด แต่เขื่อนที่นี่เป็นแบบRun off  ที่เป็นสายระบายน้ำ เราไม่ได้เก็บน้ำไว้ น้ำมาวันไหนเท่าไรเราก็ปล่อยไปเท่านั้น มันก็จะพาตะกอนออกไปด้วย แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เราจะมีประตูระบายตะกอนขนาดใหญ่ เดิมทีเราไม่ได้ออกแบบไว้ เมื่อมีคนมาท้วงติง เราก็ออกแบบเพิ่มเติมเพื่อจะมีประตูระบายตะกอนขนาดใหญ่ 4 บาน ที่ติดอยู่กับระบายน้ำล้น นอกจากนั้นที่ใต้โรงไฟฟ้า เราก็มีทางระบายทรายอีกต่างหาก ฉะนั้นเรื่องตะกอนที่จะไปทางด้านท้ายน้ำ ผมยืนยันว่าเรามีการออกแบบแล้วก็ปรับปรุงเรื่องนี้ไว้พร้อมมูลและสมบูรณ์ที่สุด นอกเหนือจากนั้นสิ่งที่เราทำ คือเรื่องของการป้องกันตลิ่งพัง ซึ่งปกติแล้ว น้ำเมื่อขึ้นลงก็จะมีตลิ่งพัง เรามีโครงการที่จะทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อน เหนือฝายนี้คงที่ตลอดเวลาซึ่งจะไม่มีตลิ่งพังแน่นอน แต่ทางด้านท้ายน้ำอาจจะมีการขึ้นลงของระดับน้ำบ้าง เราก็จะมีระบบการป้องกันไม่ให้มีผลกระทบที่เกินพอดีเกินไป


ธรรมนูญ สุรรัตน์

ด้าน ธรรมนูญ สุรรัตน์ ผู้จัดการโครงการเขื่อนไซยะบุรี บริษัท ช.การช่าง บอกว่า เขื่อนไซยะบุรี เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก ไม่ใช่เขื่อนสำหรับกักเก็บน้ำอย่างที่ชาวบ้านเข้าใจผิด ดูได้จากการเลือกสถานที่ที่มีพื้นที่ของแม่น้ำกว้างพอเหมาะประมาณ 800 เมตร ตรงข้ามกับการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำที่ต้องเลือกพื้นที่เเม่น้ำที่เเคบที่สุด การทำงานของเขื่อนน้ำเข้ามาเท่าไหร่เราจะปล่อยผ่านตัวโครงการออกไปเท่านั้น




ธรรมนูญ สุรรัตน์ อธิบายผู้สื่อข่าว

"ส่วนที่เอ็นจีโอกังวลเรื่องปลานั้นการสร้างเขื่อนใน ครั้งนี้ก็จะทำช่องทางให้ปลาสามารถผ่านไปได้ซึ่งเป็นการศึกษาออกเเบบเพิ่ม เติมภายหลังธรรมดาร่องน้ำถ้าเป็นคอนกรีตก็จะเป็นพนังเรียบๆแต่เราจะทำพื้น และพนังในลักษณะคล้ายลำธารโดยการใช้กรวดธรรมชาติให้เป็นทางลาด 100 เมตร ให้คดเคี้ยวเป็นการเพิ่มระยะทาง ถ้าทำในลักษณะตรงจากความสูง 1 เมตรระยะทาง 100 เมตรก็จะชันพอสมควร สำหรับข้อกังวลว่าปลาบึกอยู่น้ำลึกแล้วปลาบึกไปไม่ได้ นั้นโครงการก็มีการศึกษา โดยตั้งสถานีการศึกษาปลา อยู่ห่างจากเขื่อนไม่กี่เมตร"

"เรามีผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาตลอดทั้งปี ผลการศึกษาล่าสุดใช้ช่วงก่อนฝนตกจนผ่านฤดูฝนมาแล้วเราได้ปลาทั้งหมดที่ผ่านบริเวณนี้ 75 สายพันธุ์ 15 ตระกูล ปลาส่วนใหญ่ที่พบจะขนาดเล็กโดย 70 เปอร์เซ็นต์ที่ผ่านมีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม มีตัวใหญ่ที่สุดที่ตรวจสอบได้ยาว 2.50เมตร คาดว่าน่าจะเป็นปลาบึก และศึกษาต่อว่าปลาที่พบว่ายที่ร่องน้ำลึก หรืออยู่ด้านข้าง มีปริมาณเท่าไหร่ ว่ายน้ำขึ้นและลงในช่วงฤดูกาลใดเดือนใด และมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและนำผลที่ได้คือชนิดพันธุ์ปลา ลักษณะการว่ายมาออกแบบทางลาดปลา ภายหลังการศึกษาเรื่องการสร้างทางปลาครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญก็เเนะนำว่า ปลาบางสายพันธุ์ที่มีจำนวนน้อยก็จะจัดสร้างสถานีเพาะพันธุ์ปลาขึ้นมา โดยนำปลาที่มีค่าเฉลี่ยที่ผ่านทางปลามากที่สุดมาใช้ออกแบบพันธุ์ปลานั้นๆ ด้วย"


ปลิว ตรีวิศวเวทย์

ในขณะที่ "ปลิว ตรีวิศวเวทย์" บิ๊กบอสแห่ง ช.การช่าง กล่าวปิดท้ายว่า การรับเหมาก่อสร้างงานนี้ไม่ใช่มุ่งแต่จะทำกำไรสูงสุด แต่ยืนอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย

{youtube width="550"}Y2vWPWY2VXY{/youtube}

 

ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359969432&grpid=02&catid=21&subcatid=2100

 

Go to top