แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

tha รายงานข่าวของสื่อต่างประเทศหลายสำนักเมื่อวันอาทิตย์ (28) ซึ่งอ้างผลการสำรวจของ “แม็คแคนน์ เวิลด์ กรุ๊ป” บริษัทโฆษณาและวิจัยตลาดชื่อก้องโลก ซึ่งมีฐานอยู่ที่มหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ , กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และนครเซี่ยงไฮ้ของจีน ระบุว่า สวิตเซอร์แลนด์ ถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์ดีที่สุดของโลก และถูกชื่นชอบมากที่สุดตามข้อมูลของ Country Brand Indexหรือ “ซีบีไอ”ประจำปี 2012-2013

 

  ทั้งในแง่การมีรัฐบาลที่ดี และประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ยอดเยี่ยม ตามมาด้วยประเทศแคนาดา ญี่ปุ่น สวีเดน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ ใน 10 อันดับแรก

ขณะที่สิงคโปร์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 14 ของโลกจากการสำรวจครั้งนี้ ตามหลังสหราชอาณาจักร (อันดับ 11), เดนมาร์ก (อันดับ 12), และฝรั่งเศส (อันดับ 13) โดยสิงคโปร์ถือเป็นชาติที่มีภาพลักษณ์ดีเป็นที่ 2 ในเอเชียรองจากญี่ปุ่น

รายงานดังกล่าวของ แม็คแคนน์ เวิลด์ กรุ๊ปซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก ระบุเกณฑ์การจัดอันดับ Country Brand Index ของตน มาจากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในหลายประเทศ เกี่ยวกับมุมมองที่พวกเขามีต่อประเทศต่างๆ ทั้งในมุมมองด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การทำธุรกิจรวมถึง คุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศนั้นๆ ตลอดจนมุมมองต่อความมี “ธรรมาภิบาล” ของรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศต่างๆ

ในส่วนของประเทศไทยนั้น ผลการสำรวจดังกล่าว จัดให้ไทยเป็นดินแดนที่มีภาพลักษณ์ดีเป็นอันดับที่ 26 ของโลก แต่ถูกยกให้ติดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “FUTURE 15” หรือ 15 ประเทศที่มีศักยภาพสูงที่สุด ในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านภาพลักษณ์ระดับโลกในอนาคต ร่วมกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ชิลี มาเลเซีย กาตาร์ เอสโทเนีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไอซ์แลนด์ เม็กซิโก บราซิล ตุรกี โคลอมเบีย อินเดีย คาซัคสถาน และเวียดนาม

รายงานฉบับนี้ระบุไทยมีศักยภาพโดดเด่น ที่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางด้านการผลิต (manufacturing hub) ที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ จากการที่รัฐบาลลงทุนอย่างมหาศาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนต่างประเทศ ที่ยังคงต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าต่อไป แม้ธุรกิจของต่างชาติจำนวนมากจะได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ ปี 2011 ก็ตาม







tha


 

ที่มา:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vinitsiri&month=29-10-2012

 

 

Go to top