แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
×

คำเตือน

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 2147483647

dino

นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจอห์นมัวร์ในเมืองลิเวอร์พูลประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งไดโนเสาร์ ทารกไดโนเสาร์สายพันธุ์อพาโตซอรัสที่ได้ชื่อเล่นว่า “สปอต” ที่ถูกฟักออกมาในเวลานี้ที่คณะสัตว์แพทย์ของทางมหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์ได้สกัดดีเอ็นเอมาจากฟอสซิลของไดโนเสาร์พันธุ์อพาโตซอรัสที่ยังจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของทางมหาวิยาลัย ทันทีที่ดีเอ็นเอถูกเก็บเกี่ยวขึ้นมา นักวิยาศาสตร์ได้ฉีดมันเข้าไปยังไข่(ที่เจริญเป็นตัวอ่อนได้)ในมดลูกของนกกระจอกเทศ

จอนด์ เจอร์ราร์ด ศาตราจารย์ด้านชีววิทยาของทางมหาวิทยาลัยจอห์นมัวร์ผู้เป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการกล่าวว่า นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่มีลักษณะยีนพันธุกรรมร่วมจำนวนมากกับไดโนเสาร์ โครงสร้างจุลภาคที่เปลือกไข่ของมันเกือบเป็นแบบเดียวกับที่เป็นในไดโนเสาร์พันธุ์อพาโตซอรัส 

dino

ที่มาข้อมูล : British Scientists Clone Dinosaur | News Mogul
 
นวัตกรรมด้าน DNA อาจคืนชีพไดโนเสาร์อีกครั้ง...
 
ในนิทานเวตาลมีตำราชื่อ สังชีวนีวิทยา ที่สามารถชุบชีวิตคนจากเถ้ากระดูกได้ ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องแฟนตาซีที่ไม่มีทางเป็นไปได้ ทว่าเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมก้าวไปในทุกนาที ในขณะที่เรานั่งดื่มกาแฟยามเช้า อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหน้านี้ อีกซีกโลกหนึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็กำลังขะมักเขม้นอยู่ในห้องวิจัย การทำโคลนนิ่งหรือการปลุกชีพของเหล่าบรรดาสัตว์ที่สูญพันธุ์นั้นล้วนแต่เป็นผลพวงของการค้นพบรหัสของสารพันธุกรรม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า DNA นั่นเอง ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูนจะพาท่านไปทำความเข้าใจกับการโคลนนิ่ง รวมทั้งการคิดค้นวิธีนำ DNA ไปชุบชีวิตเหล่าสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ที่สูญสิ้นสายพันธุ์ไปนานแล้ว
 
DNA หรือสารพันธุกรรมคือตัวเก็บข้อมูลกำหนดคุณลักษณะทุกๆด้านของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ถ่ายทอดคุณลักษณะเฉพาะจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างมีระบบแบบแผน มนุษย์เพิ่งมารู้จักมันเมื่อไม่นานนักโดยบาทหลวงชาวออสเตรียนาม เกรกเกอร์ เมนเดล เขาพบว่าถั่วลันเตารุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกมีการถ่ายโอนพันธุกรรมอย่างเป็นระเบียบชัดเจน ทว่าเรื่องเหล่านี้กว่าจะเห็นภาพชัดก็เมื่อ เจมส์ วัตสัน นักวิทยาศาสตร์อเมริกากับ ฟรานซิส คริก นักอณูชีววิทยาจากเคมบริดส์ ตีพิมพ์งานลงวารสารเมื่อ ค.ศ.1953 ว่าค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นคู่ขนานบิดเป็นเกลียวคล้ายบันได ทั้งสองต่อยอดเรื่องนี้มาจากนักทดลองอีกทีมหนึ่ง การค้นพบนี้นำมาซึ่งการพัฒนาอณูชีววิทยา (molecular biology) หรือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้างและการทำงานของสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล
 
 
นักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯใช้โครงสร้างทางพันธุกรรมของสัตว์หลากหลายสายพันธุ์มาประกอบการร่างแบบจำลองของสัตว์ดึกดำบรรพ์ จึงได้พบว่าบรรพบุรุษที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่สามารถสืบค้นได้ในปัจจุบันหน้าตาคล้ายหนู เคยมีชีวิตอยู่หลังการล่มสลายในยุคไดโนเสาร์ ยิ่งนานวันเรื่องของสิ่งมีชีวิตทุกสายพันธุ์ก็ยิ่งคลี่คลายมากขึ้น และเมื่อความก้าวหน้าด้าน DNAมากกว่านี้ คงจะให้คำตอบที่เราสงสัยกันมายาวนานว่าแท้ที่จริงแล้วมนุษย์มาจากไหน เริ่มต้นเผ่าพันธุ์ ณ จุดใด
 
ทว่าในโลกของความเชื่อความศรัทธา การศึกษาค้นคว้าทดลองทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวกับพันธุกรรม รวมถึงการโคลนนิ่งมนุษย์นั้นถูกประณามจากศาสนจักร ด้วยเหตุที่ว่าเรื่องเหล่านี้เป็นอำนาจของพระผู้ เป็น เจ้า พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ทรงเป็นคนแรกที่ออกมาประณามเมื่อข่าวเรื่องการโคลนนิ่งมนุษย์หลุดออกมาในช่วงแรก
 
dino
แต่ใช่ว่าคริสต์ศาสนาจะต่อต้านทุกเรื่องไปเสีย ใน ค.ศ.1931 สันตะปาปา Pius ที่ 2 ทรงจัดตั้ง สภาวิทยาศาสตร์แห่งองค์พระสันตะปาปา (Pontifical Academy of Science) ขึ้น สภามีหน้าที่รายงานและหาคำตอบเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทุกแขนงที่มีการพูดถึงกันอยู่ในช่วงนั้นๆแก่พระสันตะปาปา มีการประชุมทุกปีที่วาติกัน โดยมีสมาชิกถาวร 80 คน ซึ่ง 25 คนในที่แห่งนั้นเคยได้รับโนเบลมาแล้ว บุคคลเหล่านี้มีทั้งนักจักรวาลวิทยา พันธุกรรมศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักชีววิทยา
 
สตีเฟ่น ฮอว์กิง นักฟิสิกส์คนดังของโลกที่ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาแห่งนั้น เขากล่าวว่าการศึกษาและทดลองในส่วนของพันธุกรรมมนุษย์นั้นจะทำให้เราเข้าใจจักรวาลวิทยาและเข้าในพระทัยของพระเจ้ามากขึ้น แม้ปฏิญญาสากลว่าด้วยการทดลองรหัสพันธุกรรมมนุษย์ขององค์การยูเนสโกจะระบุว่าห้ามทำการโคลนนิ่งมนุษย์ แต่ในหลายประเทศก็ไม่ได้มีการออกกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ประธานาธิบดี บิล คลินตัน เคยออกมาทักท้วงเรื่องการโคลนนิ่งมนุษย์ว่า หากสำเร็จ สิ่งที่ตามมาอาจไม่ใช่แค่ความก้าวหน้าของโลกเท่านั้น ความเกี่ยวข้องกับกฎหมายก็จะวุ่นวายตามไปด้วย ทว่าอเมริกาเองก็ไม่ได้มีกฎหมายห้ามการโคลนนิ่ง
และเมื่อมีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของสารพันธุกรรม นักวิทยาศาสตร์ จึงเริ่มทำการทดลองกับสัตว์ ที่โด่งดังไปทั่วโลกนั้นคือเจ้าแกะดอลลี่ ที่มีอายุขัยไม่ยาวนักเพียง 6 ปีเศษ ทั้งที่สายพันธุ์ของมันควรจะมีอายุ 12 ปี เจ้าดอลลี่มีภาวะแทรกซ้อนในปอด และข้อต่อกระดูกทั่วร่างกายเกิดการเสื่อมอย่างรวดเร็ว
 
นับแต่นั้นการทดลองก็เกิดขึ้นมากมายในห้องทดลองทั่วโลก ทั้งสัตว์ที่ยังมีอยู่ ใกล้สูญพันธุ์ และสัตว์โลกโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
 
ใน ค.ศ.2008 คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียและมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้สกัด DNA จากก้านขนของแมมมอธ 13 ตัว ที่ถูกเก็บรักษาเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วโลก ก่อนจะนำมาจัดเรียงวาง DNA ขึ้นใหม่เพื่อหวังจะได้พบกับคำตอบที่ว่าเหตุใดพวกมันจึงสูญหายไปจากโลก
ความพยายามที่จะทำการโคลนนิ่งมีอยู่เสมอมา เมื่อปลายปีก่อนนี้นี่เอง มีการพบซากลูกแมมมอธในเขตไซบีเรีย เป็นซากที่สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่เคยพบมา เนื้อเยื่อยังคงมีสีแดง โดยทีมงานของรัสเซียและญี่ปุ่นบอกว่าเซลล์ที่ได้มานั้นน่าจะมีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่เคยเจอ ขั้นตอนต่อไปคือการคืนชีพ DNA ของมัน หลังจากนั้นอาจจะใช้ช้างเอเชียอุ้มท้องเนื่องจากสายพันธุ์ใกล้เคียงกัน พวกเขาหวังว่าคราวนี้จะสำเร็จ
 
dino
ใช่ว่าการโคลนนิ่งจะหยุดเพียงแค่สัตว์ กับมนุษย์นั้นก็มีการทำกันมาเนิ่นนาน อย่างที่เคยเป็นข่าวโด่งดัง และน่าตกใจขึ้นไปอีกเมื่อมีการประกาศหาแม่อุ้มท้องมนุษย์ดึกดำบรรพ์นีแอนเดอร์ทัลซึ่งสาบสูญไปแล้วนานกว่า 33,000 ปี ศาสตราจารย์ จอร์จ เชิร์ช แห่งฮาร์วาร์ดวางแผนจะนำ DNA จากฟอสซิลกระดูกของมนุษย์ถ้ำไปใส่ในเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีหญิงสาวผู้ใดยกมือเป็นอาสาสมัคร
 
เรื่องการโคลนนิ่งนี้ยังอาจทำให้เราได้บุคคลสำคัญของโลกคืนกลับมาอีกด้วย อย่างล่าสุดที่มีการขุดพบกะโหลกซึ่งคาดว่าจะเป็นของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 กษัตริย์อังกฤษในอดีต บริเวณลานจอดรถแห่งหนึ่ง ทีมนักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์ต้องออกติดตามหาตัวทายาทรุ่นที่ 17 เพื่อเปรียบเทียบดีเอ็นเอ ถ้าผลออกมาว่าใช่กะโหลกของพระองค์ อาจจะมีการโคลนนิ่งพระองค์ขึ้นมาอีกครั้ง
 
ทั้งหมดทั้งมวลนี้มีความเป็นไปได้สูงหลังจากที่ทาง 2 สถาบันริเกน (Riken) แห่งญี่ปุ่นโคลนนิ่งหนูได้สำเร็จในปี ค.ศ.2006 ความสำเร็จนี้ตีพิมพ์ลงวารสาร National Academy of Sciences โดยนำเซลล์จากหนูที่ตายแล้วแช่แข็งไว้ 16 ปี เก็บไว้ในอุณหภูมิ -20 องศา ที่จริงความเย็นขนาดนั้นจะทำให้เซลล์เสียหาย พวกเขาจึงเลือกเซลล์จากส่วนสมองซึ่งมีไขมันห่อหุ้มอยู่มากที่สุด มันจึงไม่ได้รับความเสียหาย สกัดเอานิวเคลียสจากเซลล์แล้วไปใส่ในหนูเพื่อฝากท้องนาน 3 สัปดาห์ มัน แข็งแรงเมื่อมีชีวิต ทั้งยังสามารถผสมพันธุ์และมีลูกออกมาได้..
 
ที่มาของแหล่งข้อมูล : thairath.co.th
Go to top