แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
×

คำเตือน

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 2147483647
ขออนุญาตกรุงเทพธุรกิจรายวันนำข้อมูลนี้มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา 
หลายๆ คน อาจจะยังไม่รู้จักโรคลมพิษแบบเรื้อรัง ซึ่งมีลักษณะอาการที่คล้ายกับโรคลมพิษแบบเฉียบพลันที่ผู้ป่วยจะต้องทรมานกับอาการผื่นคันอยู่ตลอด
ลมพิษเรื้อรัง,โรคใกล้ตัว,ที่ถูกมองข้าม
ท่ามกลางสภาวะอากาศที่แปรปรวน ทั้งแดดออก อากาศร้อน ฝนตก อากาศเย็น อับชื้น อาจช่วยกระตุ้นก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโรคลมพิษแบบเฉียบพลัน ที่เมื่อกล่าวขึ้นทุกคนจะรู้จักเป็นอย่างดี แต่เชื่อว่าหลายๆ คน อาจจะยังไม่รู้จักโรคลมพิษแบบเรื้อรัง ซึ่งมีลักษณะอาการที่คล้ายกับโรคลมพิษแบบเฉียบพลันที่ผู้ป่วยจะต้องทรมานกับอาการผื่นคันอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังมีผลต่อบุคลิกภาพและ ความสวยงามของผู้ป่วยรวมถึงกระทบต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันอีกด้วย
 
 
ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 นี้ เป็นวันโรคลมพิษโลก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ทั่วโลกร่วมรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคลมพิษ ที่ถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย จึงอยากให้คนไทยหันมาให้ความสนใจกับโรคใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้น กับตนเองหรือคนใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป 
 
โรคลมพิษ เป็นโรคที่ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีขนาดได้ตั้งแต่ 0.5 หรืออาจถึง10 ซม.เกิดขึ้นเร็วและกระจายตามตัว แขนขา มีอาการคัน แต่ละผื่นมักจะคงอยู่ไม่นาน โดยมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นนั้นก็จะราบไปโดยไม่มีร่องรอย แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีริมฝีปากบวม ตาบวม (Angioedema) โรคลมพิษแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 
 
โรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน (acute urticaria) คืออาการผื่นลมพิษเป็นมาไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่มักเป็นปฏิกริยาต่อการติดเชื้อเช่น เป็นไข้หวัด บางรายเกิดจากยา อาหาร แมลงกัดต่อย เมื่อแก้ ปัญหาที่สาเหตุแล้วอาการก็จะดีขึ้น อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายก็หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ ผู้ป่วยโรคลมพิษชนิดเฉียบพลันรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการแสดงที่อวัยวะอื่นได้ เช่น อาการปวดท้อง แน่นจมูก คอหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หอบหืด หรืออาจเป็นลมจากความดันโลหิตต่ำ แต่จะพบได้น้อย โรดลมพิษชนิดเฉียบพลัน มักจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นลมพิษเรื้อรัง 
 
โรคลมพิษชนิดเรื้อรัง (chronic urticaria) ผู้ป่วยจะมีอาการผื่นลมพิษเป็นๆหายๆ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งชนิดที่ทราบสาเหตุกระตุ้น เช่น การติดเชื้อ ยา ระบบ 
ฮอร์โมน หรือเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ และชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งมักจะเป็นความแปรปรวนภายในร่างกายเอง 
 
ในต่างประเทศมีข้อมูลว่าโรคลมพิษชนิดเรื้อรังพบประมาณร้อยละ 0.5-1 ของประชากร ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่จากสถิติผู้ป่วยนอก แผนกผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช พบผู้ป่วยโรคลมพิษ ประมาณร้อยละ 2-3 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาโรคผิวหนัง โรคลมพิษเรื้อรังสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อุบัติการณ์สูงสุดในกลุ่มประชากรวัยทำงาน อายุระหว่าง 20-40 ปี อาจเป็นได้ว่าเนื่องจากกลุ่มวัย ทำงานมักมีอาการเครียดสะสมและ อาจละเลยต่อการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง จึงทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้มากขึ้น 
 
อย่างไรก็ตามโรคลมพิษเรื้อรังนั้นมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งด้านบุคลิกภาพ การทำงาน การเรียน การดำเนินชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ทางเพศ การนอนหลับและยังก่อให้เกิดความ เครียดอีกด้วย เนื่องจากผื่นและอาการคันที่อาจเป็นๆหายๆ โดยเฉพาะในรายที่ไม่ทราบสาเหตุหรือ สิ่งกระตุ้นที่ชัดเจน อาจมีภาวะความเครียดที่สูงขึ้นเพราะผู้ป่วยจะไม่สามารถทราบได้ว่าจะมีอาการเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากปัจจัยกระตุ้นได้
 
ทั้งนี้ผู้ป่วยผื่นลมพิษสามารถปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการได้ ดังนี้
 
 
1. งดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด 
2. นำยาต้านฮีสตามีนติดตัวไว้เสมอ เพื่อให้ใช้ได้ทันทีหากมีอาการ 
3. ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด 
4. ไม่แกะเกาผิวหนัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการเกา 
5. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากยาทำให้เกิดอาการง่วงซึม จนรบกวนการทำงานหรือการขับขี่ยานพาหนะ ควรแจ้งแพทย์เพื่อพิจารณาการให้การรักษาต่อไปตามความเหมาะสม 
6. อาจใช้ calamine lotion ทาบริเวณผื่นลมพิษเพื่อช่วยลดอาการคัน แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้ผื่นหาย 
 
สำหรับผู้ป่วยโรคลมพิษที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มโรคลมพิษเฉียบพลัน ที่มีอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก ปวดท้อง มีอาการหน้าบวม ตาบวม ปากบวมอย่างมาก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการหอบหืดจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ในรายที่มีอาการชนิดเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาตามแนวทางการรักษาโรคลมพิษเรื้อรังต่อไป
 
กรณีที่สามารถสืบค้นจนทราบสาเหตุและแก้ไขสาเหตุได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮิสตามีนไปแล้วผื่นลมพิษมักหายได้เร็วเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน แต่หากหาสาเหตุไม่พบหรือเป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้โดยง่ายแพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไปเพื่อควบคุมอาการผื่นลมพิษให้ได้และเมื่อควบคุมอาการได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดยาลง จงถึงพยายามหยุดยาเพื่อควบคุมโรคในระยะยาว ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาที่มากขึ้นทั้งยารับประทานและยาฉีด เพื่อช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามผื่นลมพิษชนิดเรื้อรังส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยและญาติจึงไม่ควรวิตก
 
 
 
ขอขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/666541
Go to top