แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก
korat_antiqe  

มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ นิยมเขียนภาพไว้บนผนังถ้ำ หรือหน้าผาหิน  ศิลปถ้ำหรือภาพเขียนสีนี้ (ROCK PAINTING) ถือ ว่าเป็นงานศิลปกรรมที่มนุษย์ในสมัยนั้นเขียนขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นการดำรง ชีวิต หรือความเชื่อต่างๆ  ในพ.ศ.๒๔๖๗ นายเอ เอฟ จี แคร์(A.F.G.KERR)ได้ ค้นพบภาพเขียนสีครั้งแรกที่ถ้ำมือแดง บ้านส้มป่อย ตำบลสีบุญเรือง อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม  เป็นภาพที่ทำขึ้นโดยใช้มือจุ่มสีประทับบนผนังถ้ำหรือเขียนเป็นภาพมือ  มีทั้งมือสีแดงและสีเทารวม ๑๐ มือด้วยกัน และยังมีภาพคนยืน ๖ คน

ใช้วิธีอมสีแล้วพ่นใส่ฝ่ามือ

ต่อมาได้มีการค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำมากขึ้น ในเขตภาคอิสาน ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ และกาฬสินธิ์ ภาพเขียนสีนี้ยังมีปรากฏใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ด้วย ได้แก่ภาพเขียนสีบนเขาปลาร้า อ.ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

เมื่อศึกษา วิธีการเขียนภาพบนผนังถ้ำแล้ว พบว่า ผนังหินที่ใช้เขียนส่วนใหญ่เป็นหินทราย  ส่วนที่พบเป็นผนังหินปูนก็มีเช่น ที่ภูผาฆ้อง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย  การที่เลือกใช้ผนังหินทรายนั้นเนื่องจากมีผิวหน้าค่อนข้างเรียบ  หากมีการแตกตัวออกจากกันก็จะมีรอยแตกที่ตรง ส่วนวิธีการเขียนบนผนังถ้ำที่ภาคอิสานนั้นพบว่ามีลักษณะ ดังนี้

เริ่มต้นจากการเขียนเป็นโครงร่างของภาพก่อนแล้วจึงระบายสีทึบ  เป็นภาพที่ไม่ต้องการแสดงรายละเอียด  พบบางภาพยังเป็นเส้นร่างอยู่ ระบายสีทึบไม่หมด  เส้นร่างมักเป็นสีดำ ส่วนสีแดงหรือสีน้ำตาลแดงมักใช้ระบายเป็นสีทึบ  มักเขียนเป็นภาพคน  ซึ่งเขียนเป็นกลุ่มเหมือนจะบอกเหตุการณ์ของยุคสมัย และภาพสัตว์ที่พบเห็นในยุคนั้นได้แก่ วัว หมา สัตว์เลี้ยง เพื่อจะบอกลักษณะของสัตว์หรือวิธีการล่าหรือจับสัตว์  หรือบอกบริเวณนั้นมีสัตว์ชนิดนี้อยู่ เช่น กลุ่มภาพที่ผาแต้มอำเภอโขงเจียม  บางแห่งเขียนเพื่อแสดงพิธีกรรมบางอย่างเช่น ภาพเขียนที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี มีภาพคนสวมหัวนก  ในภาคอื่นนั้นพบว่ามีการเขียนภาพลายเส้นและมีเส้นขวางหรือประจุดอยู่กลางลำ ตัวเรียก ภาพเอกเรย์ พบที่เขาปลาร้า อำเภอลานสักจังหวัดอุทัยธานีเป็นภาพคน วัวหรือควาย และหมา เป็นต้น

 

ภาพเขียนกลุ่มผาขาม กลุ่มผาแต้ม

การเขียนภาพสัตว์นั้นน่าจะเขียนเพื่อที่จะล่าสัตว์ชนิดนั้น โดยสมมุติภาพขึ้นก่อน  และเขียนเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในการล่าสัตว์  สัตว์ป่าในยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นวัว หรือเขียนเพื่อบอกลักษณะของสัตว์สำหรับการล่า  ส่วนภาพหมานั้นเขียนขึ้นเพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคนมากกว่าพิธีกรรม เช่น ภาพหมาที่เขาจันทร์งาม อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา หรือภาพหมา ควาย ที่เขาปลาร้าอยู่กับคน เป็นต้น

เขียนเป็นเส้นภาพโดยไม่มีการร่าง  ส่วนใหญ่เป็นภาพลายเรขาคณิตพบมากที่สุดในภาคอีสาน ไม่ทราบความหมาย หรือเป็นสัญญลักษณ์ ที่จะบอกอะไร

เขียนเป็นภาพมือไว้บนผนังหิน  ซึ่งมีวิธีทำ ๓ วิธีกล่าวคือ ใช้ฝ่ามือวางทาบบนผนังหินแล้วเขียนเป็นเส้นรอบฝ่ามือนั้น   หรือใช้ฝ่ามือชุบสีเสียก่อนแล้วนำไปทาบบนผนังหิน  จึงทำให้บริเวณข้อต่อและอุ้งมือไม่มีสีติดบนผนังหิน  ซึ่งพบวิธีนี้ที่ภูผาฆ้อง บ้านห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และใช้ผ่ามือทาบลงผนังหินแล้วเอาปากอมสีพ่นไปรอบมือ   ภาพมือนี้มีที่ผาฆ้อง  บ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี   ผาแต้มและผาหม่อน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี น่าจะทำขึ้นเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของที่พักตามถ้ำชั่วคราว ไม่ได้ใช้แสดงการเยี่ยมเยือนอย่างภาพมือที่พบในยุโรป หรือใช้เป็นสัญญลักษณ์แสดงเป็นแหล่งอาศัยอยู่ถาวรจนเป็นชุมชน

ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 4,000 ปี แสดงวิถีชีวิตของผู้คนในยุคโบราณ ชัดที่สุดในประเทศไทย

ค้นพบในถ้ำบนภูเขาบริเวณวัดเขาจันทร์งาม

สำหรับสีที่ใช้เขียนนั้น ส่วนมากเป็นสีแดง นอกนั้นก็มีสีส้ม สีเลือดหมู สีน้ำตาล สีดำและสีขาว เนื้อ สีที่ใช้เหล่านั้นประกอบด้วยผงแร่ธาตุต่างๆ ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีดำ ได้จากออกไซด์ของแมงกานีส สีขาวได้จากดินขาว  สีแดงและสีเหลืองได้จากออกไซด์ของเหล็กกับดินเหลืองและดินแดง  มีการศึกษาที่มาของสีแดง พบว่าแร่เหล็ก เฮมาไทด์ (Hematite: Fe2O3) มีจำนวนมากในภาคอีสานหาได้ง่าย  สีเหลืองแร่เหล็กชนิด ไลโมไนต์  (Limonite: 2Fe2O3.3H2O) ที่ มีสีน้ำตาลอมเหลือง  จึงสันนิษฐานเป็นเบื้องต้นว่าได้นำแร่ชนิดนี้มาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำ หรือยางไม้ทำเป็นสีใช้เขียนผนังถ้ำ  ส่วนเครื่องมือที่ใช้เขียนในเบื้องต้นน่าจะใช้เปลือกไม้ทุบปลายให้เป็นเส้น ทำเป็นภู่กันเขียนหรือใช้วัตถุที่ยืดหยุ่นซึมซับสีได้เช่น หางหรือขนสัตว์ และแท่งไม้  และการใช้ของแข็งหรือสิ่งที่มีคมเขียน

ผาแต้ม บริเวณนี้มีภาพเขียนสีกลุ่มใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 180 ม. มีจำนวนภาพมากกว่า 300 ภาพ ส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์

กลุ่มภาพผาหมอนน้อย

จิตรกรยุคหินคิดค้นสีกันน้ำด้วยนะครับ จากการตรวจสอบพบว่ามนุษย์ยุคนั้นมีความชาญฉลาดมากกว่าการได้เขียนสีลงไปเฉยๆ ยังคิดถึงการคงทนถาวรของภาพ  โดยการผสมสีด้วยไขมันสัตว์ เพื่อทำให้สีติดคงทนและไม่หลุดลอกได้ง่าย

ภาพเขียนสีเหล่านั้นติดคงทนมานานหลายพันปี  ก็ด้วยเพราะสีที่ใช้มาจากธรรมชาติ  และยังผสมผสานเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นจนทำให้ทุกวันนี้ภาพเหล่านั้นยังคง ปรากฎให้เราได้เห็นจนทุกวันนี้  หวัวว่าหลายคนคงหายสงสัยนะครับว่าภาพเหล่านี้ถูกทำขึ้นมาใหม่หรือเปล่า

สำหรับ นนี้ก็คงขอจบเรื่องราวของจิตรกรยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่รู้จักคิดค้น และพัฒนา จนได้ภาพประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวในยุคนั้นให้เรายุคปัจจุบันได้ เรียนรู้ ถ้าพวกเขารับรู้ได้คงภูมิใจที่ผลงานของพวกเขาได้เป็นหนึ่งในเส้นทางของการ ศึกษาประวัติศาสตร์ของชาวโลก  ขอบคุณครับ

เรียบเรียงโดย  พรชัย  สังเวียนวงศ์  (mata)

 

ขอบคุณภาพจาก

http://www.baanjomyut.com/library_2/paintings_of_prehistoric_east/index.html,

http://www.baanjomyut.com/library_2/paintings_of_prehistoric_east/index.html,

 
Go to top