แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

 

korat_search engine 

 

 

 

ความท้าทายจากเรื่องที่ยักษ์โซเชียลเน็ตเวิร์ก "เฟซบุ๊ก" เปิดตัว "เสิร์ชเอ็นจิ้น" ของตนเอง พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากการใช้เสิร์ชเอ็นจิ้นบนคอมพิวเตอร์มายัง สมาร์ทโฟนและแท็บเลต ทำให้ "กูเกิล" ยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้น มีโจทย์ใหญ่ให้ต้องขบคิดเพื่อผลักดันผลงานให้เติบโตแบบก้าวกระโดดต่อไป

แม้ นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญจะพากันคาดการณ์ผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายปีที่ ผ่านมาในแง่ลบ แต่ "กูเกิล" พลิกกลับมาเติบโตเหนือความคาดหวังได้อีกครั้ง และเตรียมขยับขยายเข้าสู่ตลาดท่องเที่ยวอีกด้วย

"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า กูเกิลสามารถพลิกสถานการณ์ธุรกิจโฆษณาออนไลน์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทให้ยังคงอัตราการเติบโตสูงเพิ่มขึ้นได้ บ่งชี้ให้เห็นว่าบริษัทแห่งนี้รับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ หันไปใช้อุปกรณ์มือถือได้แล้ว ประเด็นนี้กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์ในขณะนี้เช่นกัน

 


เมื่อไม่นานมานี้ กูเกิลโดนกระแสกดดันจากหลาย ๆ ฝ่าย จากการเติบโตของรายได้ค่าโฆษณาบนเสิร์ชเอ็นจิ้นของเว็บไซต์ที่ลดลง รวมถึงเว็บไซต์ยูทูบ และเว็บไซต์อื่นในเครือ นอกจากนี้ สัดส่วนการใช้บริการค้นหาข้อมูลของกูเกิลยังไปปรากฏให้เห็นบนอุปกรณ์มือถือ รูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น ขณะที่นักโฆษณาต่างหันไปให้ความสำคัญกับโฆษณาบนอุปกรณ์มือถือ ซึ่งต้นทุนย่อมเยากว่าโฆษณาบนเสิร์ชเอ็นจิ้นบนคอมพิวเตอร์พีซีกว่าครึ่ง

อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาที่ล้อม "กูเกิล" ขณะนี้เริ่มบรรเทาลงบ้าง เนื่องจากอัตราการลงโฆษณาผ่านอุปกรณ์มือถือเริ่มขยับตัวขึ้น โดยรายได้ของกูเกิลในไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาเติบโตขึ้น 22% จากปีที่แล้ว มีรายได้ 12,910 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่รวมธุรกิจ "โมโตโรล่า โมบิลิตี้ ฮาร์ดแวร์" สวนกระแสรายได้ของบริษัทในไตรมาสก่อนหน้าที่โตเล็กน้อย

"แล ร์รี่ เพจ" ซีอีโอ "กูเกิล" ไม่ได้คาดการณ์ว่าอัตราการโฆษณาบนอุปกรณ์มือถือ และอัตราการโฆษณาบนคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปของกูเกิลจะมีสัดส่วนเท่ากันเมื่อใด แต่ไม่คิดว่าแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดปัญหาต่อบริษัทในระยะยาว

สิ่ง ที่น่าสังเกตคือ ระดับราคาเฉลี่ยที่นักโฆษณายอมจ่ายเพื่อให้คนทั่วไปคลิกโฆษณาของตนบน เว็บไซต์กูเกิลลดลงประมาณ 6% น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ระดับราคาเฉลี่ยน่าจะลดลง 8-12% แต่กูเกิลชดเชยด้วยการเพิ่มจำนวนครั้งที่ผู้ใช้กดดูโฆษณาให้มากกว่าเดิม 24% โดยบริษัทยังทำกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6.7% ทำให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้น 5% (ณ 22 ม.ค. 2555 อยู่ที่ 738.13 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น)

หนึ่งในสาเหตุของการ พลิกฟื้นรายได้โฆษณาออนไลน์ของกูเกิล น่าจะมาจากอัตราการลงโฆษณาบนแท็บเลตขยับตัวสูงขึ้น บริษัท รีโซลูชั่น มีเดีย ซึ่งมีหน้าที่ช่วยจัดการงบประมาณการตลาดออนไลน์มูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐให้นักการตลาดทั้งหลาย กล่าวว่า ราคาค่าโฆษณาของเสิร์ชเอ็นจิ้นบนแท็บเลตในไตรมาส 4 ปีที่แล้วปรับตัวขึ้นมาสูงกว่าค่าโฆษณาบนคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปนิดหน่อย เนื่องจากนักโฆษณาประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างยอดขายผ่านแท็บเลต

"กู เกิล" เปิดเผยว่า บริษัททำผลกำไรในไตรมาส 4 ปีที่แล้วได้ 2,890 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าซึ่งทำได้ 2,710 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนรายได้รวมทั้งหมดในไตรมาส 4 อยู่ที่ 14,420 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36% หากเทียบช่วงเวลาเดียวกันปี 2554

นอกจากนี้ กูเกิลยังให้ข้อมูลว่า บริษัทมีสินทรัพย์ทั้งหมด 48,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปลายปี 2555 นับรวมเงินสดและหลักทรัพย์ที่เป็นเงินได้ ทั้งมีบุคลากรเพิ่มขึ้นนิดหน่อย ปัจจุบันมี 53,861 คน เนื่องจากจ้างพนักงานเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ปลดพนักงานในส่วนธุรกิจโมโตโรล่าออกด้วย

ฝั่งนักวิเคราะห์บางคน ยังกังวลกับเรื่องที่ "กูเกิล" ขยายจุดยืนของตนเองเข้าไปในธุรกิจที่มีส่วนต่างกำไรน้อยอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจดังกล่าวคือ ธุรกิจอุปกรณ์มือถือของโมโตโรล่าที่กูเกิลซื้อกิจการเมื่อปีที่ผ่านมา โดยกูเกิลพยายามหาทางลดขนาดองค์กรของโมโตโรล่า เพื่อพลิกฟื้นให้กลับมาเป็นองค์กรที่สร้างผลกำไรได้ แต่ผลประกอบการของโมโตโรล่าไม่นับรวมส่วนธุรกิจ "เซตท็อปบ็อกซ์" ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ยังขาดทุนเป็นเงินประมาณ 353 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ผลประกอบการในไตรมาสก่อนหน้านี้ขาดทุน 527 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยช่วงท้ายปีที่ผ่านมา

"กูเกิล" ยอมขายส่วนธุรกิจเซตท็อปบ็อกซ์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ยังทำกำไรได้ให้บริษัทแอร์ริส กรุ๊ป ในราคาประมาณ 2,350 ล้านเหรียญสหรัฐ

"ซี อีโอ" กูเกิลกล่าวในงานแถลงผลการประกอบการล่าสุดว่า บริษัทมีศักยภาพในการประดิษฐ์ประสบการณ์การใช้งานแบบใหม่ ๆ ที่ยอดเยี่ยมยิ่งกว่าเดิม ด้วยการมีเทคโนโลยีของโมโตโรล่า เช่น การเพิ่มอายุการใช้แบตเตอรี่ ทั้งยังบอกอ้อม ๆ ว่า บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ในการแข่งขันจากการที่เฟซบุ๊กเปิดตัว เสิร์ชเอ็นจิ้น

ที่ใช้ฐานข้อมูลของตนเอง ในชื่อ "กราฟ เสิร์ช" เมื่อกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่ง "เอริกา บาร์ท" รองประธานบริษัท รีโซลูชั่น มีเดีย แสดงความคิดเห็นว่า เสิร์ชเอ็นจิ้นของเฟซบุ๊กอาจกลายเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับ ข้อมูลสินค้าหรือบริการที่ได้รับการ "แนะนำ" จากเพื่อน ๆ ของเขา แต่ยังต้องดูกันต่อไปว่า ผลการค้นหาในเสิร์ชเอ็นจิ้นของเฟซบุ๊กจะมีข้อมูลครอบคลุมเท่ากับกูเกิลหรือ ไม่

เว็บไซต์ "ซีเน็ท" ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ซีอีโอกูเกิลให้น้ำหนักกับการทำให้กูเกิลช่วยผู้ใช้งานวางแผนการท่องเที่ยว โดยก่อนหน้านี้เขาเคยพูดถึงเรื่องการสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับใช้วางแผนการ ท่องเที่ยวบนกูเกิล โดยจะค้นหาคำตอบที่เหมาะสมให้ผู้ใช้ แทนการนำเสนอลิงก์เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียว

ก่อนหน้านี้ "ซีอีโอ" กูเกิลเคยให้สัมภาษณ์ว่า "มันคงวิเศษมากถ้ามีระบบซึ่งสามารถวางแผนการท่องเที่ยวให้คุณได้ เพราะจะทราบถึงความชอบ

ส่วน ตัวของคุณ, สภาพอากาศ, ราคาตั๋วเครื่องบิน, ราคาโรงแรม ระบบการขนส่ง และการนำสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดนี้มาผสมเข้าด้วยกันเป็นประสบการณ์ใช้งานเพียงหนึ่งเดียว"

ซึ่งในงานแถลงผลประกอบการครั้งนี้ เขาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กูเกิลทำหน้าที่ได้ดีในการส่งผู้ใช้งานเข้าสู่สถานที่ที่เหมาะสม

ซึ่ง การตอบการค้นหาที่ซับซ้อน เช่น การวางแผนทริปพักร้อนตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงเที่ยวบิน, โรงแรม และกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ได้หมายความว่ากูเกิลต้องส่งผู้ใช้งานออกไปนอกเว็บไซต์ของตน แต่บริษัทอาจต้องการพาร์ตเนอร์สำหรับรองรับการทำธุรกรรมการเงิน

"กู เกิลมีสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับการเดินทางและการทำแผนที่ซึ่งช่วยมอบประสบการณ์ การใช้งานที่ยอดเยี่ยมได้ในอนาคต ตอนนี้บริษัทกำลังหาทางทำให้มันใช้งานได้จริงและกำลังซื้อ รวมถึงร่วมมือกับบริษัทรายอื่นเพื่อหาทางทำข้อตกลงในการสร้างประสบการณ์ใช้ งานที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้บริโภคขึ้นมาให้ได้" เขากล่าว

เว็บไซต์ "เดอะ การ์เดี้ยน" รายงานว่า อัลเบิร์ต เวนเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ยูเนี่ยน สแควร์ เวนเจอร์ส บริษัทด้านการร่วมลงทุนออกมาคาดการณ์ว่า กูเกิลจะไม่สามารถเป็นเจ้าตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้น

ได้ตลอดไป โดยชี้ให้เห็นว่า เสิร์ชเอ็นจิ้น "บิง" ของไมโครซอฟท์ ครองส่วนแบ่ง 15% ในอเมริกา เนื่องจากเป็นเสิร์ชเอ็นจิ้นมาตรฐานที่มาพร้อมคอมพิวเตอร์ที่ใช้วินโดวส์ 8 และกูเกิลกำลังสูญเสียสัญญาการใช้เสิร์ชเอ็นจิ้น
ของตนจากผู้ผลิต ฮาร์ดแวร์ และมองว่าตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้นเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากจนกูเกิลไม่สามารถ รักษาระดับส่วนแบ่งตลาดให้เท่าเดิมได้อีกต่อไป และการที่ไมโครซอฟท์ค่อย ๆ ได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล

นอกจากนี้เขายังมอง ว่า จะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดบนอุปกรณ์มือถือมากขึ้น โดยอาจต้องใช้โมเดลธุรกิจที่ชาญฉลาดและแตกต่างออกไปจากกูเกิล แทนที่จะเข้ามาแข่งกันแบบซึ่งหน้า เช่น เว็บไซต์ DuckDuckGo เว็บเสิร์ชเอ็นจิ้นแบบไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้งาน เป็นต้น

 

ที่มา:http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359521337&grpid=09&catid=06&subcatid=0603

 

Go to top