แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

ในขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งเกี่ยวกับการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีเกาหลีเหนือเป็นเชื้อชนวนของความขัดแย้ง กำลังถูกจับตามองจากทั่วโลกว่า จะมีหนทางแก้ไขปัญหาหรือมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อย่างไร เพราะดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งที่มีสาเหตุหลักมาจาก “ความต้องการท้าทายโลกตะวันตก” ของผู้นำเกาหลีเหนือ ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความยากลำบากมากยิ่งขึ้น



กองทัพไทยกับการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในคาบสมุทรเกาหลี

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในนิตยสาร Miitary ฉบับเดือนมีนาคม 2553

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์)
หากจะกล่าวถึงความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ก็คงต้องมองย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2493 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทั้งมวล เพราะเป็นห้วงเวลาที่กองทัพเกาหลีเหนือ ซึ่งประกอบกำลังจากกองพลทหารราบจำนวน 7 กองพล และกองหนุนอีก 3 กองพล รวมทั้งสิ้น 10 กองพล มีจำนวนทหารมากกว่า 60,000 คน ปฏิบัติการโจมตีแบบสายฟ้าแลบข้ามเส้นขนานที่ 38 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนเข้าไปในประเทศเกาหลีใต้ หรือสาธารณรัฐเกาหลี สร้างความตื่นตะลึงให้กับมวลมนุษยชาติที่เพิ่งหลุดพ้นจากฝันร้ายอันโหดเหี้ยมอำมหิตในสงครามโลกครั้งที่สองที่สิ้นสุดลงไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งสร้างความหวั่นวิตกเป็นอย่างมากว่า สงครามครั้งนี้อาจเป็นต้นเหตุของสงครามโลกครั้งใหม่ก็เป็นได้

ในขณะที่กองทัพเกาหลีเหนือรุกเข้าสู่ดินแดนเกาหลีใต้นั้น กองทัพเกาหลีใต้ขาดการเตรียมความพร้อมและมีกำลังทหารในแนวหน้าไม่เพียงพอที่จะยับยั้งการไหลบ่าเข้ามาของผู้รุกราน 

ดังนั้นเพียงแค่สามวันกองทัพเกาหลีเหนือก็สามารถยึดกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ได้ 

องค์การสหประชาชาติซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาตระหนักดีว่า หากปล่อยให้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้บานปลายออกไป อาจส่งผลต่อสันติภาพอันถาวรของโลกได้ จึงมอบหมายให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกประชุมฉุกเฉินขึ้นที่มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อประณามการรุกรานของกองทัพเกาหลีเหนือว่า เป็นการบ่อนทำลายสันติภาพสากล พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยุติการสู้รบในทันที และให้เกาหลีเหนือถอนกำลังทหารทั้งหมดกลับไปอยู่หลังแนวเส้นขนานที่ 38 หรือเส้นเขตแดน 

และต่อมาอีกสองวันคือในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2493 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ ซึ่งในขณะนั้นแทบจะหมดสภาพในการช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว 

โดยสหประชาชาติขอให้กองกำลังของประเทศสมาชิกร่วมกันผลักดันกองทัพเกาหลีเหนือออกไปจากดินแดนของเกาหลีใต้ พร้อมทั้งร้องขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้จัดกองบัญชาการ่วม (Unified Command) 





ทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกที่อินชอน (Inchon)



และในขณะเดียวกันประธานาธิบดีแฮรี่ ทรูแมน (Harry Truman) ของสหรัฐอเมริกาก็มีคำสั่งให้พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ (Douglas McArthur) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เข้ายึดครองญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองกำลังสหประชาชาติในเกาหลี (ปัจจุบันสหประชาชาติปรับชื่อตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Forces Commander หรือ FC นั่นเอง) 

ต่อมาในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ.2493 เลขาธิการสหประชาชาติได้ติดต่อมายังประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยขอให้ไทยดำเนินการช่วยเหลือเกาหลีใต้อย่างเร่งด่วน 

คณะรัฐมนตรีของไทยจึงมีมติให้ส่งความช่วยเหลือทางด้านอาหารไปสนับสนุนกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเกาหลีใต้ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2493 

และอีกสิบสี่วันต่อมาคือในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2493 กระทรวงการต่างประเทศของไทยก็ได้รับโทรเลขตอบกลับจากเลขาธิการสหประชาชาติมีใจความสรุปได้ว่า องค์การสหประชาชาติรู้สึกขอบคุณในการที่รัฐบาลไทยพร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพขององค์การสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติขอแนะนำว่า 

“.. ขอให้รัฐบาลไทยได้พิจารณาหาทางช่วยเหลือในเรื่องกำลังรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังทางภาคพื้นดิน เท่าที่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถกระทำได้ ..”

เมื่อได้รับการร้องขอจากเลขาธิการสหประชาชาติในลักษณะขอการสนับสนุน “ด้านกำลังรบ” มากกว่าขอรับการสนับสนุน “ด้านอาหาร” นายกรัฐมนตรีของไทยจึงได้นำเรื่องนี้เสนอต่อสถาบันป้องกันราชอาณาจักร และมีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2493 รับหลักการในการให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในคาบสมุทรเกาหลี 

โดยจัดกำลังทหาร 1 กรมผสม (Regiment Combat Team) เข้าร่วมในภารกิจ และต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม รัฐสภาก็อนุมัติให้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมในสมรภูมิเกาหลีในทันที โดยให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ดำเนินการต่อไป 








ดังนั้นเสนาธิการกลาโหมจึงได้ออกคำสั่งจัดตั้งกรมผสมขึ้น ประกอบด้วยกำลังพลประมาณ 4,000 คน มีทั้งส่วนอำนวยการและส่วนกำลังรบ ซึ่งในส่วนกำลังรบนั้นมีกองพันทหารราบอยู่ใต้การบังคับบัญชาจำนวน 3 กองพัน และกองพันทหารปืนใหญ่อีก 1 กองพัน พร้อมทั้ง 1 กองสื่อสาร 1 กองช่าง และ 1 กองลาดตระเวน 

นอกจากนี้ยังมอบหมายให้กองทัพเรือและกองทัพอากาศจัดเตรียมกำลังเหล่าทัพละ 1 กองพันเพื่อสนธิกำลังกับกองทัพบก 

รูปแบบของการจัดกรมผสมของกองทัพไทยในครั้งนี้ ยึดถือรูปแบบการจัดหน่วยระดับกรมรบเฉพาะกิจ (Regiment Combat Team) ของกองทัพบกสหรัฐฯ เป็นต้นแบบ 

สำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ในการปฏิบัติภารกิจ กองทัพสหรัฐฯ จะเป็นผู้ให้การสนับสนุน สำหรับกำลังพลนั้นกระทรวงกลาโหมได้ประกาศรับสมัครทหารอาสาไปราชการสนับสนุนสหประชาชาติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2493 มีผู้สนใจมาสมัครเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14,998 คน 

นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมยังได้สั่งการให้กองทัพบกจัดกำลังจากหน่วยปกติของกองทัพบกเข้าร่วมในกรมผสมดังกล่าว โดยกองทัพบกได้จัดกำลังพลจากกองพันต่างๆ ของกรมทหารราบที่ 21 ส่วนกองร้อยอาวุธหนักให้สนธิกำลังจากหน่วยต่างๆ ของกองทัพบก พร้อมกำหนดนามหน่วยว่า “กรมผสมที่ 21”

ต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคมของปีเดียวกัน กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งพิเศษเรื่อง การจัดกำลังทหารเพื่อไปสงครามเกาหลี โดยให้พลตรี หม่อมเจ้าพิสิฐดิษยพงษ์ ดิสกุล เป็นผู้บัญชาการทหารไทย ในการนำกำลังพลของกองทัพไทยเข้าทำการรบร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติในเกาหลี รวมทั้งมีคำสั่งให้กองทัพบกจัดกองบังคับการกรมผสมที่ 21 และกำลังทหารราบ 1 กองพันพร้อมเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่การรบในวันที่ 19 ตุลาคม 

ในขณะเดียวกันทางกองทัพเรือก็ได้รับคำสั่งให้จัดเรือลำเลียงพล พร้อมเรือคุ้มกัน เพื่อขนส่งกำลังพลส่วนแรกของกรมผสมที่ 21 ไปยังประเทศเกาหลี โดยกองทัพเรือได้จัด “เรือรบหลวงสีชัง” ทำหน้าที่เป็นเรือลำเลียงพล ส่วนเรือคุ้มกันนั้นจัด “เรือรบหลวงประแส” และ “เรือรบหลวงบางประกง” ทำหน้าที่ในการคุ้มกัน 





เรือหลวงประแสร์ในปัจจุบัน


เรือทั้งหมดออกจากท่าเรือกรุงเทพเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2493 ใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 17 วัน ถึงท่าเรือเมืองปูซานของเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2493 จากนั้นกำลังทหารทั้งหมดก็ออกเดินทางโดยรถไฟไปยังค่ายพักของ “ศูนย์รับทหารของสหประชาชาติ” ที่เมือง “เตกู” ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองปูซานประมาณ 80 ไมล์

เมื่อทหารไทยเข้าสู่สมรภูมิเกาหลีได้ไม่นาน กองทัพจีนได้เปิดฉากรุกเข้าสู่คาบสมุทรเกาหลีเพื่อสนับสนุนกองทัพเกาหลีเหนือในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2493 

สถานการณ์ตกอยู่ในสภาวะคับขัน ทหารจีนจำนวนมากมายมหาศาลเสมือนหนึ่ง “คลื่นมนุษย์” ไหลบ่าเข้าต่อสู้กับทหารสหประชาชาติในแทบทุกพื้นที่ “กรมผสมที่ 21” ของไทยซึ่งขึ้นการบังคับบัญชากับกองทัพที่ 8 ของสหรัฐฯ ได้ทำการรบในสมรภูมิที่สำคัญๆ หลายครั้ง 

ดังเช่นที่มีการบันทึกไว้ใน http://www..tv5.co.th ถึงการปฏิบัติการรบที่เนินเขา “พอร์คชอป” ในอีกสองปีต่อมา คือเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495 พอสรุปได้ว่า กองพันทหารราบของไทยจากกรมผสมที่ 21ได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติภารกิจในการรักษาที่มั่นบนเนินเขาพอร์คชอปเอาไว้ให้ได้ 

เนินเขานี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองชอร์วอน ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งที่ทั้งฝ่ายเกาหลีเหนือและสหประชาชาติต้องการยึดเอาไว้เพื่อความได้เปรียบทางยุทธวิธี ลักษณะภูมิประเทศของเนินเขาพอร์คชอปเป็นสันเขาโดดเดี่ยว ล้อมรอบด้วยหุบเขาสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 255 เมตร พื้นที่บริเวณเขาพอร์คชอปนี้ได้มีการรบพุ่งเพื่อยึดพื้นที่เปลี่ยนมือกันไปมาหลายครั้ง และล่าสุดตกเป็นของฝ่ายกองกำลังสหประชาชาติ 







กองพันทหารไทยได้รับมอบพื้นที่รับผิดชอบที่มีความกว้างด้านหน้าประมาณ 3 กิโลเมตร จึงได้วางกำลัง 3 กองร้อยในแนวหน้า โดยกรมทหารราบที่ 9 ของสหรัฐฯ ให้การยิงสนับสนุนด้วยปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด (ปืน ค.) พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้วยรถถังจำนวน 1 หมวดอีกด้วย 

เบื้องหน้าของที่มั่นทหารไทยเป็นภูเขาลูกเล็กๆ ที่ฝ่ายข้าศึกยึดอยู่ 2 ลูกคือ เขาฮาร์คโกล และเขาโพลเค หลังจากเข้าประจำที่มั่นทหารไทยก็รีบปรับปรุงคูสนามเพลาะ และเครื่องกีดขวางประเภทลวดหนาม โดยเพิ่มแนวลวดหนามจากเดิม 2 แนวเป็น 4 แนว วางแผนการใช้ทุ่นระเบิด และหีบระเบิดนาปาล์มที่มีอานุภาพรุนแรงเพิ่มขึ้น 

นอกจากนั้นยังได้จัดกำลังกองหนุนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งได้เตรียมการขอรับการสนับสนุนฉากการยิงคุ้มครอง เป็นวงแหวนรอบที่มั่น โดยขอให้ปืนใหญ่ของกองพลทหารราบที่ 2 ของสหรัฐฯ ซึ่งมีอยู่ 4 กองพัน วางแนวการยิงที่เรียกว่า “วงแหวนเหล็ก” เอาไว้รอบฐานที่มั่น เพื่อใช้ในกรณีที่ถูกข้าศึกเข้าตี

จนกระทั่งในคืนวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2495 ข้าศึกได้เคลื่อนที่เข้าโจมตีทหารไทยที่ขุดสนามเพลาะอยู่ทางมุมด้านทิศตะวันออกของเนินเขาพอร์คชอป แต่ถูกตอบโต้โดยการประสานการยิงคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง จนข้าศึกต้องล่าถอยกลับไป ทิ้งศพผู้เสียชีวิตไว้ 10 ศพ 

ต่อมาในช่วงบ่ายของวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 ข้าศึกได้ระดมยิงปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิดมายังที่มั่นของทหารไทยอย่างหนาแน่นเป็นจำนวนถึงกว่า 600 นัดเพื่อเตรียมการเข้าตีครั้งใหญ่ ส่งผลให้ที่มั่นของทหารไทยได้รับความเสียหายอย่างหนัก 

และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง ข้าศึกจำนวน 1 กองพันได้แบ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าตีที่ฟังการณ์ (จุดสังเกตการณ์) ของกองพันทหารไทยที่อยู่ในแนวหน้าทั้ง 2 ด้านพร้อมๆ กัน การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดจนถึงขั้นประชิดตัว แต่ด้วยกำลังที่น้อยกว่า ทหารไทยจึงต้องถอนตัวกลับเข้าที่มั่นหลัก ในขณะที่ข้าศึกยังคงเคลื่อนที่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด จนเข้าถึงบริเวณที่มั่นทหารไทยบนเนินเขาพอร์คชอป 







การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดและประชิดติดพัน จนบางจุดมีการต่อสู้กันด้วยดาบปลายปืนเนื่องจากมีข้าศึกส่วนหนึ่งสามารถฝ่าแนวป้องกันเข้ามาถึงขอบที่มั่นได้ ฝ่ายไทยจึงได้มีการร้องขอการสนับสนุนการยิงฉากวงแหวนหรือ “วงแหวนเหล็ก” เพื่อทำลายข้าศึกที่เล็ดลอดเข้ามา การยิงแบบ “วงแหวนเหล็ก” เป็นไปอย่างรุนแรงจนข้าศึกต้องถอนตัวกลับไป การรบในครั้งนี้ฝ่ายไทยเสียกำลังพลไป 8 คน บาดเจ็บอีก 17 คน ทางฝ่ายข้าศึกทิ้งศพผู้เสียชีวิตไว้ 50 ศพ 

อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมาคือในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 เวลาประมาณ 01.00 – 02.00 ฝ่ายข้าศึกได้บุกเข้าตีที่มั่นของทหารไทยอย่างรุนแรงอีกครั้ง คราวนี้แบ่งกำลังการเข้าตีเป็น 3 ระลอก 

โดยในระลอกแรกและระลอกที่สอง ข้าศึกใช้ปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิดยิงถล่มที่ฟังการณ์หรือจุดสังเกตการณ์ของทหารไทยและใช้กำลังประมาณ 1 กองร้อย เข้าตีทางทิศตะวันตกและทิศเหนือโดยใช้เวลาในการเข้าตีประมาณ 45 นาที จึงหยุดการโจมตี แต่ยังคงระดมยิงที่มั่นของทหารไทยด้วยปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิดหนักอยู่ต่อไป 

จนกระทั่งเวลา 02.45 น. ข้าศึกได้เปิดฉากการเข้าตีระลอกที่สาม โดยใช้กำลังประมาณ ๒ หมวด เข้าตีทางด้านทิศตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ข้าศึกได้อาศัยความมืดคืบคลานเข้ามาจนถึงหน้าที่มั่น 

การรบเป็นไปแบบประชิดตัวอีกครั้ง มีการใช้อาวุธปืนพก ดาบปลายปืน และระเบิดมือต่อสู้กันอย่างดุเดือด สถานการณ์คับขันจนผู้บังคับที่มั่นของไทยต้องขอรับการสนับสนุนการยิงฉาก “วงแหวนเหล็ก” อย่างรุนแรง จนทำให้ข้าศึกต้องล่าถอยกลับไป 

จะสังเกตได้ว่าในการเข้าตีครั้งนี้ ข้าศึกได้เปลี่ยนยุทธวิธีใหม่โดยไม่ใช้การยิงเตรียมเหมือนการเข้าโจมตีทั่วไป แต่ได้อาศัยความมืดเป็นเครื่องกำบังเพื่อที่จะลอบเข้ามาให้ใกล้ที่มั่นของทหารไทยมากที่สุดและใช้การรบแบบประชิดตัวเป็นหลักในการยึดที่มั่นของทหารไทย

อย่างไรก็ตามการรบที่เนินเขาพอร์คชอปทั้งสองครั้งยังไม่รุนแรงเท่ากับการรบในครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการรบที่นักรบไทยได้ฝากชื่อเสียงเอาไว้ให้โลกได้ประจักษ์ พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของสมญานาม “พยัคฆ์น้อย” หรือ Little Tiger นั่นเอง รายละเอียดต่างๆ จะขอนำเสนอในตอนต่อไป
Go to top