แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

talk

 

1.อำเภอ บัวใหญ่ เป็น จังหวัด ปทุมทอง แยกมาจากจังหวัดนครราชสีมา

โดยทั้งนี้แนวคิดการตั้ง อ.บัวใหญ่ เป็นจังหวัดนั้นมีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2498 
เป็นข้อเสนอการจัดตั้งจังหวัดของนายเลื่อน พงษ์โสภณ ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา ในสมัยนั้น
โดยผลักดันให้อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ รวมกันเป็น จังหวัดปทุมทอง

โดยในครั้งนั้น คณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับในหลักการ

แต่ให้ชะลอโครงการไว้ก่อน เนื่องจากต้องใช้งบประมาณถึง 500 ล้านบาท

ภายหลังมีรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 โครงการนี้จึงได้จบลงไปพร้อมกับรัฐบาลคณะนั้น



 

korat_talk

 

korat_talk

อำเภอชุมแพ จังหวัดชุมแพ แยกมาจาก จังหวัดขอนแก่น


พระ ครูหงส์ได้ชักชวนญาติพี่น้อง 8 ครอบครัวอพยพออกจาก เมืองภูเวียง ครั้งสุดท้ายได้หยุดพักเกวียนที่บ้านกุดจอกน้อย แล้วแบ่งครอบครัวออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กุดแห่น้อย บ้านแห่ ส่วนกลุ่มที่นำโดยพระครูหงส์มีบุตร 3 คน คือ นายโฮม (ต้นตระกูลโฮมหงส์) นายโชค และนายหลอด (ต้นตระกูลหงส์ชุมแพ) ได้เดินทางต่อมาและเลือกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง มีวัดร้าง และกุดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก วัดร้างนี้มีธาตุและต้นโพธิ์จึงตั้งชื่อว่าวัดโพธิ์ธาตุ พร้อมกับตั้งชื่อว่าบ้านกุดธาตุ กุดธาตุมีน้ำลึกมามีจระเข้ และป่าซุปชุม ทำให้จับปลาได้ยากประกอบกับรอบๆ กุดธาตุมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่นชาวบ้านจึงตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพ ใช้ยืนหว่านแหแล้วตีวงล้อมเข้าหากันนานเข้าจึงเรียกว่า กุดชุมแพ และบ้านชุมแพ

เดิม สุขาภิบาลชุมแพได้ตราประจำประกอบด้วยสัญญาลักษณ์เป็นเจดีย์ใบโพธิ์ และคลื่นฟองน้ำอยู่ภายในวงกลม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอำเภอชุมแพขึ้นอีก เปลี่ยนตราประจำสำนักงานเทศบาลตามที่กรมศิลปกรออกแบบให้ตราใหม่มีลักษณ์เป็น วงกรมมีสัญญาลักษณ์เป็นรูปเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีประทับ

อยู่ บน แพมือขวาถือลูกธนูมือซ้ายถือคันธนูมีนายทหารคนสนิท 2 ชาย นั่งถือธงปลายหอกอยู่คนละข้าง (ประกาศเทศบาลตำบลชุมแพ วันที่ 23 มีนาคม 2530)

สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปปราบฮ่อ ในเมืองพวน เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกดังนี้

1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักรศิบปาคมเป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองหนองคาย

2. เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือยกกองทัพขึ้นไปทางหลวงพระบาง

โดยให้ยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2428 (ยงศิลป และโขมพัตร เรืองศุข 2540 : 180)

จาก ประวัติการยกทัพครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองพิชัย เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ตลอดจนถึงเมืองสิบสองจุไทย แสดงว่าไม่ได้ยกกองทัพผ่านบ้านชุมแพเลย

บ้าน ชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ จงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น ๆ แบ่งได้เป็น 2 คุ้มอู่ระหว่าง 3 วัด ได้แก่ วัดเหนือ (ปัจจุบันเป็นที่ทำการประปา) วัดกลาง (วัดโพธิ์ธาตุ) และวัดใต้ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนบ้านชุมแพ) ปีพุทธศักราช 2543 ในระหว่างที่ท้าวอุปชิต มิตตะปิด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ได้เกิดเพลิงไม้กอไผ่ริมหนองอีเลิงด้านใต้แล้วลุกลามไหม้บ้านนายคาน หงส์ชุมแพจนถึงด้านทิศเหนือ ชาวบ้านไม่มีที่อยู่อาศัย จึงอพยพไปอยู่ตามที่นาของตนเอง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่บ้านหนองไผ (บ้านหนองไผ่ใต้) และล้านโคกไม้งานในปัจจุบัน

ประมาณปีพุทธศักราช 2550



เริ่ม มีครองครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราฏฏร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปีพุทธศักราช 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎรร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการ และโรงเรียนชุมแพนอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาด เหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ในปีเดียวกันนี้กำนัน 4 ตำบลของอำเภอ ตำบลของอำเภอ ตำบลโนนหัน นายลี ขนชัยภูมิ กำนันตำบลหัวขัวเรียง และนานสิงห์ ชัยเสือ กำนันตำบลสีสุก ต่อมากำนั้น 3 ตำบลแรกได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนบุญบาลบำรุง ขุนเผด็จโดนหัน และขุนชัย ขัวเรียงเขต ตามลำดับได้ ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ ปลัดกระทรวงมหาไทยขณะนั้น ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อประมาณวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2486 กระทรวงมหาไทยจึงอนุมัติให้ตั้งอำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่

10 กรกฎาคม พ.ศ. 2486



ข้า ราชการแผนกต่าง ๆ ได้ขนย้ายวัสดุครุภัณฑ์จากอำเภอชนบท ออกเดินทาเวลา 9 นาฬิกา โดยรถยนต์ใช้เครื่องถ่าน มาถึงอำเภอชุมแพ เวลาประมาณ 2 ทุ่มปีนั้นฝนแล้ง โสกน้ำใส หนองอีเลิง และหนองคะเนแห้งขอด แต่กุดชุมแพ และกุดหินตั้งมีน้ำบ้าง ที่ทำการอำเภอชั่วคราวใช้ห้องแถวไม้ 2 ชั้น 5 คูหาของขุนบุญบาลบำรุง (เลี้ยง ดีบุญมี) ส่วนทีว่าการอำเภอได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488

ปีพุทธศักราช 2499



กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลชุมแพ

คืนวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2510



เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่บริเวณตลาดใต้ ตลาดสดดีบุญมีและโรงภาพยนตร์ชุมแพ

ปีพุทธศักราช 2510



พื้นที่ตำบลนาจาน ศรีสุข และสีชมพู แยกไปขึ้นอยู่กับอำเภอ สีชมพู

ปีพุทธศักราช 2524



แยกตำบลโนนคอมไปตั้งกิ่งอำเภอภูผาม่าน

15 ตุลาคม พ.ศ. 2528



สุขาภิบาลชุมแพได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลชุมแพ

korat_talk

อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัด พยัคฆภูมิพิสัย  แยกมาจากจังหวัดมหาสารคาม

อำเภอ พยัคฆภูมิพิสัย มีฐานะเป็นเมือง ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2426โดยพระศรีสุวรรณวงษา(เดช รัตนะวงศะวัติ) เจ้าเมืองคนแรก นำไพร่พลช้าง ม้า เสบียง อาหารและยุทธปัจจัยไปตั้งที่ทำการเมืองครั้งแรกที่บ้านนาข่า ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ในปัจจุบัน ครั้นกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่าง พระองค์ มณฑลอุบลราชธานี ทรงออกตรวจราชการที่เมืองวาปีปทุม ได้รับเรื่อง ร้องเรียนจากเจ้าเมืองวาปีปทุมว่า พระศรีสุวรรณวงษาได้เข้าไปตั้ง ที่ทำการ เมืองในเขตท้องที่ตนเมื่อสอบสวนแล้วเป็นความจริง จึงรับสั่งให้ย้ายที่ทำการ เมืองไปตั้งในเขตท้องที่ของตน ณ ตำบลปะหลาน (บ้านปะหลาน) ซึ่งมีเขตติดต่อ กับบ้านเมืองเสือในเวลา นั้น คำว่า อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย คงจะถือเอา ตามบ้าน เมืองเสือ มาจากรากศัพท์ในภาษีบาลี คือ "พยคฆ " ซึ่งแปลว่าเสือ จึงได้ชื่อ เมืองว่า พยัคฆภูมิพิสัย มีเจ้าเมือง และนายอำเภอรวมทั้งสิ้น 42 คน ปัจจุบัน คือนายสุรชัย วัฒนาอุดมชัยและอื่นๆ

talk_korat

อำเภอนี้ได้แต่ยินเขาเล่ากันมาอนาคต จะขอยกเป้นจังหวัด เพราะเศรษฐกิจของอำเภอมีขนาดใหญ่ ประชากรเยอะ

มีความเจริญเท่ากับจังหวัด นั้นเอง

korat_talk

korat_talk

 

ที่มา:http://board.postjung.com/661880.html

 

Go to top