แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2560 เพิ่มโทษใช้แรงงานเด็ก หวังป้องกัน ยับยั้ง และขจัดปัญหา การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

กฎหมายใหม่ : ข้อห้ามที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานเด็กและผู้หญิง

ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มครองดูแลแรงงานเด็ก มีผลใช้บังคับ 23 กุมภาพันธ์ 2560 การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทยและของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อต้องการให้ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการผู้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ได้รับการคุ้มครองและมีสภาพการจ้าง การทำงานที่เป็นธรรม มีหลักประกันการทำงานที่เหมาะสม และแก้ไขให้เหมาะสมกับรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไปและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอาจส่งผลกระทบต่อวงการแรงงานในวงกว้าง

ทั้งนี้ การจ้างเด็กเข้าทำงานเป็นเรื่องที่สามารถทำได้และเป็นประโยชน์แก่เด็กที่ต้องการหาประสบการณ์ หรือ เรียนรู้ที่จะปรับตัวเมื่อก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน ดังนั้น การปรับอัตราโทษให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มครองเยาวชนอนาคตของชาติไม่ให้เข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร และการจ้างงานที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนเป็นการป้องปรามไม่ให้นายจ้างแสวงหาประโยชน์จากการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย ซึ่งมี ความร้ายแรงกว่าการทำผิดกฎหมายแรงงานในความผิดอื่น ๆ

กฎหมายฉบับใหม่ มีสาระสำคัญ คือ การเพิ่มอัตราโทษสำหรับความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก 3 กรณีด้วยกัน

กรณีที่ 1 ได้แก่อายุขั้นต่ำ ของการจ้างแรงงานเด็ก คือ การจ้างแรงงานเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่า 15 ปี เข้าทำงานในงานทั่วไป งานเกษตรกรรม, การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ทำงานในงานขนถ่ายสินค้าทางทะเล และการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในงานประมงทะเล

กรณีที่ 2 การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในงานที่เป็นอันตราย เช่น งานปั๊มโลหะ งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ

กรณีที่ 3 คือ การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ต้องห้าม เช่น ทำงานโรงฆ่าสัตว์ สถานที่เล่นพนัน สถานประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำในเรือประมง

โดยอัตราโทษสำหรับความผิดดังกล่าวคือปรับตั้งแต่ 400,000 -800,000 บาท ต่อลูกจ้างหนึ่งคน หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ทั้งปรับทั้งจำ นอกจากนี้กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานอันตราย จนเป็นเหตุให้ลูกจ้างเด็กได้รับอันตรายแก่กาย หรือ จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย นายจ้างจะได้รับโทษเพิ่มมากขึ้นคือ ปรับตั้งแต่ 8 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท หรือ จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือ ทั้งปรับทั้งจำ

ด้วยความปรารถนาจากสำนักงานกิจการยุติธรรม

ข้อมูลอ้างอิง : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560
http://library2.parliament.go.th/…/cont…/law10-240160-52.pdf

#สำนักงานกิจการยุติธรรม #กฎหมายใหม่ #กฎหมายแรงงาน #แรงงานเด็ก #justiceinfographic #infographic

Go to top