แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_calendar

 สวัสดี ปีใหม่ พ.ศ.2556   เริ่มต้นปีศักราชใหม่กันอีกครั้งแล้ว...เดือนแรกของปีอย่าง มกราคม ก็ก้าวผ่านเข้ามาแล้ว  ต่อไปก็จะเป็น กุมภาพันธ์  มีนาคม  เมษายน  .....ยาวไปจนสิ้นสุดปีในเดือนธันวาคม  ...แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า  ชื่อเดือนไทยทั้ง 12 เดือนนี้  มันมีที่มาที่ไปอย่างไร ?


และผู้ที่เป็นคนตั้งชื่อเดือนของไทยทั้ง 12 เดือนนั้น  ก็คือ   "สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ" เริ่มต้นมาจากทรงสนใจและทรงได้ศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับปฏิทิน ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนทุกคน   เพราะ คนเราต้องอาศัยปฏิทินตั้งแต่ลืมตาเกิด ในการดูวัน เวลา นัดหมาย และเป็นสิ่งเตือนความจำในวันสำคัญได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญทางโลก กระทั่งวันหยุดต่าง ๆ

korat_thai month

 นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจในราชการแผ่นดินที่ได้ทรงปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างอเนกอนันต์ในเรื่องของการต่างประเทศแล้ว  สมเด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  สนพระทัยเรื่องของโหราศาสตร์มาตั้งแต่แรก  เมื่อเสด็จไปราชการต่างประเทศในยุโรป ปี 2430 ทรงซื้อหนังสือที่ เป็นตำราโหราศาสตร์ว่าด้วยสุริยุปราคาจากกรุงเบอร์ลินมา 1 เล่ม ซึ่งภายในเล่มนี้มีแผนที่ทางสุริยุปราคาอยู่เกือบเต็มทั้งเล่ม

korat_thai month

  การที่ทรงสนพระทัยในเรื่อง โหราศาสตร์นี้ อาจเป็นเพราะทรงได้รับอิทธิพลทางความคิดเกี่ยวกับโหราศสาตร์จากพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระราชบิดา ความ ชำนาญเรื่องโหราศาสตร์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จึงต้องเกี่ยวพันไปกับการตรวจตรา ตรวจสอบดูปฏิทินด้วย เพราะต้องเรียนรู้การคำนวณ วัน เดือน ปี โดยตรง เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับปฏิทินโดยตรง จึงทำให้เกิดที่มาของชื่อเดือน ดังที่กล่าวมา

korat_thai month

 คำว่า "ปฏิทิน" ที่เราใช้ในปัจจุบัน  สามารถเขียนได้เป็น "ประติทิน" ภาษาสันสกฤต หรือ "ประฏิทิน" บาลีแผลง "ประดิทิน" หรือ "ประนินทิน" ก็ได้   การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะนั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก

korat_thai month

สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดย ทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน

korat_thai month
ทั้งนี้ แบ่งเดือนที่มี 30 วัน และเดือนที่มี 31 วัน ให้ชัดเจน ด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม" ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ 2 คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็น ชื่อราศี คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง" เริ่มตั้งแต่...

มกราคม คือ มกร (มังกร) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมังกร
กุมภาพันธ์ คือ กุมภ์ (หม้อ) + อาพนธ แปลว่า การมาถึงของราศีกุมภ์
มีนาคม คือ มีน (ปลา) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมีน
เมษายน คือ เมษ (แกะ) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมษ
พฤษภาคม คือ พฤษภ (วัว,โค) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีพฤษภ
มิถุนายน คือ มิถุน (ชายหญิงคู่) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีมิถุน
กรกฎาคม คือ กรกฎ (ปู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีกรกฎ
สิงหาคม คือ สิงห (สิงห์) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีสิงห
กันยายน คือ กันย (สาวพรหมจารี) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีกันย
ตุลาคม คือ ตุล (ตาชั่ง ตราชู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีตุล
พฤศจิกายน คือ พิจิก, พฤศจิก (แมงป่อง) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีพิจิก
ธันวาคม คือ   ธนู (ธนู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีธนู
korat_thai month
อีกทั้ง กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของไทย คือเดือนเมษายน เดือน 4 ทางสุริยคติ แต่เป็นเดือน 5 ทางจันทรคติ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2483 จากนั้นวันที่ 1 มกราคม 2484 จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมปีแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 และทรงใช้คำว่า "ปฏิทิน" แทน "ประติทิน" มาโดยตลอด ลงไว้ในประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455

ดังจะเห็นได้ว่า  ชื่อของเดือนล้วนมีความหมายและที่มาที่ไป  ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งชื่อเดือนของฝรั่ง  ที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน  ซึ่งก็มีที่มามาจาก  ตัวเลขลำดับที่ของเดือนแต่ละเดือนในภาษาโรมันนั่นเอง

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/44289

 

Go to top