แพทย์แผนไทย โคราช รักษาโรค SLE ไขความลับวิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง ( SLE)
รถตู้ให้เช่า ร้อยเอ็ด
หมอเอ ณัฐปราชญ์ คลินิก

korat_history

 แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนที่ชอบศึกษาเรื่องราวสมัยอดีตที่ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท จ.นครราชสีมา

 นักท่องเที่ยวที่ชอบศึกษาเรื่องราวประวัติศาตร์มักจะรู้สึกตื่เต้นทุกครั้ง ที่ได้สถานที่ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตตามท้องถิ่นต่างๆ วันนี้ เดลินิวส์ออนไลน์ พา มาแนะนำอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าถึงความเป็นมาสมัยอดีตของชาวอีสาน กับความน่าอัศจรรย์ที่ถูกขุดค้นพบมากมายที่ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท จ.นครราชสีมา
history_korat


history

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตั้งอยู่ที่ ต.ธารปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุมากถึง 3,000 ปี และเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา โด่งดังขึ้นเพราะ สมัยก่อนมีนักค้าของเก่าลักลอบนำโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในบริเวณหมู่บ้านไป ขาย จนทำให้กรมศิลปากรได้ดำเนินการจับกุม พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2526 พบว่าเป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีร่องรอยการตั้งรกรากของมนุษย์ในชุมชนครั้งแรกเมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว คนในยุคนั้นรู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ และมีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่มาก
history
อีกหนึ่งหลักฐานสำคัญที่ขุดค้นพบเป็นจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทคือ ภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันซึ่งมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย จากการศึกษาพบว่าในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่าง ๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ ต่อมามีการรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่ชุมชนนี้จะสิ้นสุดไป โดยจากการขุดค้นรอบบริเวณหมู่บ้านโดยกรมศิลปากรพบว่า มีหลุมขุดค้นที่สามารถเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทั้งหมด 3 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งเป็นหลุมที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจนและน่าศึกษา
korat_history

korat_history

เริ่มจากหลุมขุดค้นที่ 1 พบโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป เช่น ในยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร โดยโครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค 2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก และยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้ แต่ทุกยุคจะมีการนำเครื่องประดับอย่าง กำไลเปลือกหอย แหวนสำริด กำไลสำริด และภาชนะรูทรงต่างๆฝังรวมกับผู้ตายไปด้วย  ในช่วงสามระยะแรกนี้เป็นภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท ต่อมาในยุค 1,500 ปี ลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ คือ มีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง บ่งบอกถึงความพัฒนาของแต่ละรุ่น
history -korat
หลุมขุดค้นที่ 2 ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธ ศตวรรษที่ 13-16 เรียกกันว่า "กู่ธารปราสาท" และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้ง ครรภ์ และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท นับเป็นหลุมขุดค้นที่มีความสมบูรณ์และน่าสนใจเป็นอย่างมาก หลุมขุดค้นที่ 3 พบ โครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5 เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยกระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะและภาชนะถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไป ฝัง นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำ ศีรษะไปแห่ประจาน มีการขุดค้นพบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันห่างจากจุดเดิม 500 เมตร
history korat

history
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของเขตภาคอีสานตอนล่าง โดยมีโครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมากที่ถูกค้นพบ รวมถึงโบราณวัตถุ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกมากมาย ถือเป็นสวรรค์แห่งการศึกษาหาความรู้ของคนที่หลงรักเรื่องราวด้านโบราณคดีและ ชอบศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เดินทางเข้ามาได้ สะดวก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 45 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่ 44 จะเจอทางแยกซ้าย ตรงเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเจอ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์

Go to top